มะนาวมีสารที่ช่วยคลาย และทำความสำอาดอวัยวะ รวมทั้งเสริมสร้างปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ คุณประโยชน์ที่ทั้งมะนาวและน้ำอ้อยทำงานร่วมกันแล้ว ทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย ดังต่อไปนี้
1. มีโปแตสเซียม 49% ที่จะเสริมพลังงาน และความแข็งแกร่งให้กับหัวใจ กระตุ้นและสร้างไต และต่อมควบคุมเกลือและน้ำในร่างกาย (Adrenal Glands)
2. มีออกซิเจน ที่ช่วยให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย
3. มีคาร์บอน ที่เป็นตัวจักรกลในด้านกระตุ้น
4. มีแคลเซียม ช่วยเสริมพลังงาน และความแข็งแรงให้ปอด
5. มีฟอสฟอรัส ช่วยต่อกระดูก กระตุ้น และสร้างสมองให้มีความคิดโปร่งใส สดใส
6. มีโซเดียม สนับสนุนการสร้างเนื้อเยื่อ
7. มีแมกนีเซยม ทำหน้าที่ช่วยเหลือให้เป็นด่าง (Blood Alkalizer)
8. มีเหล็ก ช่วยเม็ดโลหิตแดง สะสางโรคดลหิตจาง
9. มีคลอรีน ทำความสะอาดพลาสมาในเลือด
10. มีซิลิคอน (Silicon) ช่วยต่อมไทรอยด์ (Thyroid) ให้หายใจได้ลึกกว่า
ธาตุเหล็ก ธาตุทองแดง แคลเซียม คาร์บอน และไฮโดรเจน จะพบได้ในสารที่มีรสหวานซึ่งเป็นสารที่ทำ
หน้าที่ทั้งสร้างและล้างด้วย สูตรผสมมะนาว เป็นสารประกอบที่สมบูรณ์ที่สุดในการทำความสะอาด การกำจัด การรักษาบำบัด และการเสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ในร่างการดังนั้น อาหารเสริมและวิตามินส่วนเกิน จึงไม่จำเป็น และอาจเป็นการรบกวนระบบการทำงานของสูตรน้ำมะนาวอีกด้วย
ป้ายกำกับ
- คำนำ (1)
- ธรรมมะ (5)
- เรื่องน่ารู้ (9)
- สุขภาพ (18)
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550
สูตรน้ำมะนาว
ใช้เวลา 11-12 วัน โดยอดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด และรับประทานตามสูตรอย่างเคร่งครัด ดังนี้
วันที่ 1 ถึงวันที่ 10
1. หลังตื่นนอนทุกวัน ดื่มน้ำเกลืออุ่น 1 ลิตร หรือ 4 แก้ว
เกลือทะเล 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำอุ่น 1 ลิตร
(เกลือต้องเป็นเกลือทะเล ที่ไม่ผ่านการทำความสะอาด)
2. ตลอดทั้งวัน ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำอ้อยสด 8-12 แก้ว หรือมากกว่า เว้นช่วง 1-1.5 ซม. หรือจิบไปเรื่อยๆ
น้ำมะนาวสด 2 ช้อนโต๊ะ + น้ำอ้อยสด 1 แก้ว
+ ผิวมะนาวสดหั่นฝอย ประมาณ ¼ - ½ ลูก
+ พริกไทยแดงป่นแค่ปลายมีด
(ถ้าหาน้ำอ้อยสดไม่ได้ ใช้น้ำเชื่อมหรือน้ำตาลทรายแดงที่เคี่ยวมาจากอ้อยแทน)
3. ก่อนนอนจะดื่มน้ำใบสะระแหน่ หรือชาสมุนไพร เพื่อช่วยในการขับถ่ายก็ได้ ถ้าตอนเช้าถ่ายไม่ดี
วันที่ 11
ดื่มน้ำส้มคั้นสดทั้งวัน
วันที่ 12
ดื่มน้ำส้มคั้นสด , ผลไม้อ่อน , ผักสดหรือสลัด , โจ๊ก , ข้าวต้ม
หมายเหตุ
หลังจากดื่มน้ำเกลือตอนเช้าหลังตื่นนอนแล้ว ภายใน 1 ชม. จะถ่ายอุจจาระประมาณ 3-5 ครั้ง โดยกลั้นไม่อยู่
วันที่ 1 ถึงวันที่ 10
1. หลังตื่นนอนทุกวัน ดื่มน้ำเกลืออุ่น 1 ลิตร หรือ 4 แก้ว
เกลือทะเล 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำอุ่น 1 ลิตร
(เกลือต้องเป็นเกลือทะเล ที่ไม่ผ่านการทำความสะอาด)
2. ตลอดทั้งวัน ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำอ้อยสด 8-12 แก้ว หรือมากกว่า เว้นช่วง 1-1.5 ซม. หรือจิบไปเรื่อยๆ
น้ำมะนาวสด 2 ช้อนโต๊ะ + น้ำอ้อยสด 1 แก้ว
+ ผิวมะนาวสดหั่นฝอย ประมาณ ¼ - ½ ลูก
+ พริกไทยแดงป่นแค่ปลายมีด
(ถ้าหาน้ำอ้อยสดไม่ได้ ใช้น้ำเชื่อมหรือน้ำตาลทรายแดงที่เคี่ยวมาจากอ้อยแทน)
3. ก่อนนอนจะดื่มน้ำใบสะระแหน่ หรือชาสมุนไพร เพื่อช่วยในการขับถ่ายก็ได้ ถ้าตอนเช้าถ่ายไม่ดี
วันที่ 11
ดื่มน้ำส้มคั้นสดทั้งวัน
วันที่ 12
ดื่มน้ำส้มคั้นสด , ผลไม้อ่อน , ผักสดหรือสลัด , โจ๊ก , ข้าวต้ม
หมายเหตุ
หลังจากดื่มน้ำเกลือตอนเช้าหลังตื่นนอนแล้ว ภายใน 1 ชม. จะถ่ายอุจจาระประมาณ 3-5 ครั้ง โดยกลั้นไม่อยู่
การใช้สูตรน้ำมะนาว คือ การลดอาหารใช่หรือไม่?
การลดอาหาร เป็นสุดยอดของการบำบัดโรคในทุกทางและทุกระบบ เพราะเท่ากับเป็นการละลาย และกำจัดเนื้อเยื่อไขมัน ไขมันจะถูกละลายได้ในอัตราส่วนประมาณ 2 ปอนด์ต่อวัน ต่อคนโดยเฉลี่ย และ ปราศจากอันตรายด้วย
โรคที่เกี่ยวกับน้ำมูกทั้งหลาย เช่น หวัด ไข้หวัด หืด แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ ไซนัส และหลอดลมอักเสบ เหล่านี้ จะถูกละลายและขจัดไปจากร่างกายได้อย่างเร็ว ทำให้ผู้ที่ทดลองสูตรมะนาวหายใจโล่ง ไม่มีอาการอุดตันของเสมหะและน้ำมูกที่เกิดจากการแพ้ต่าง ๆ (Allergies) ในขั้นแรกอาการแพ้ยังคงปรากฏอยู่บ้าง แต่จะหายไปหลังจากร่างกายได้รับการชำระล้างแล้ว คนที่มีน้ำหนักมากเกินไป จะพบว่ามีประสบการณ์กับโรคเหล่านี้มากกว่าคนผอม และถ้าคนอ้วนเหล่านั้นยังคงฝืนกินอาหารที่ทำให้เกิดไขมันที่เป็นสารพิษกับร่างกายต่อไป โอกาสที่จะป่วยเป็นโรคก็จะมีมากขึ้น
น้ำมูกน้ำเมือก ที่เกิดขึ้นมากเกินปกตินั้น เป็นเพราะการกินและการดื่มของที่เสริมสร้างเสมหะมูกและเมือกเข้าไป หรืออาจจะพูดได้ว่าคุณเป็นโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะคุณกินมันเข้าไป ถ้าเราหยุดหุงหาอาหารที่ไร้ประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับบุคคลในครอบครัว ร่างกายของทุกคนในครอบครัวก็จะไม่สร้างสารพิษที่เป็นเสมหะ เมือก หรือ มูกต่าง ๆ รวมทั้งอาการแพ้นานาชนิดก็จะไม่เกิดขึ้นจนตลอดชีวิต
โรคหลายชนิดด้วยกัน ที่เกิดจากการรวมตัวของแคลเซียม (Calcium) มากเกินไปตามบริเวณไขข้อ กล้ามเนื้อ เซลล์ หรือต่อมต่าง ๆ จะถูกละลายและเคลื่อนไหวออกไปจากร่างกาย เช่นเดียวกันกับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ที่เข้ารวมอยู่ตามเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ และเส้นโลหิตต่าง ๆ ทั่วบริเวณก็จะได้รับการกำจัดโดยวีการเดียวกัน คือ สูตรมหัศจรรย์พลังน้ำมะนาว (The magic cleansing power of the Lemonade Diet) รวมทั้งโรคผิวหนังทุกชนิด จะอันตรธานหายไปสิ้น เมื่อทุกส่วนภายในของร่างกาย (เช่นเดียวกันกับภายนอก) ถูกชำระล้างให้สะอาดด้วยน้ำมะนาว ฝี หนอง สิว ตุ่มต่าง ๆ ก็รวมอยู่ในโรคผิวหนังด้วยเช่นกัน สภาวะต่าง ๆ นี้ ธรรมชาติเป็นผู้สั่งการกวาดล้างสารพิษ เชื้อพิษต่าง ๆ ได้ผลดีรวดเร็วยิ่ง
โรคติดต่อทุกชนิด ก็เป็นผลมาจากการสะสมสารพิษเป็นเวลานาน ซึ่งจะต้องถูกกำจัดหรือเผาผลาญ หรือทำปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำให้สารพิษเหล่านี้ออกไปจากร่างกายให้หมดสิ้น ตามความจริงแล้วโรคติดต่อ หรือการอักเสบทุกชนิด ธรรมชาติเป็นผู้สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดสมดุลในการเผาผลาญ และทำลายของเสีย แต่ถ้ามีมากเกินไปก็ทำอันตรายให้กับมนุษย์
แน่นอนที่สุด สูตรการบริโภคน้ำมะนาว เป็นสูตรการลดจำนวนอาหาร แต่มันมีประสิทธิภาพที่มากมายกว่านั้น นอกจากจะใช้ในการสะสางของเสียในร่างกายแล้ว ยังสามารถรักษาโรคแผลตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ประโยชน์ของมันมีเหลือคณานับทั้งลดไขมันส่วนเกิน เยียวยาบำบัดความป่วยไข้ และทั้งยังดำรงกระบวนการหมุนเวียนภายในให้ถูกระบบอีกด้วย
คนจะมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้ ก็เพราะกินอาหารที่ถูกต้องเท่านั้น คนจะสร้างเชื้อโรคให้กับตนเองเพราะกินอาหารผิด ๆ และเมื่อนั้นโรคต่าง ๆ ก็จะเป็นแขกประจำในร่างกายของท่าน แต่มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น คือ การล้างร่างกายภายในทั้งหมดด้วยน้ำมะนาว
ข้อควรสังเกต ข้อแนะนำในการบริโภคน้ำมะนาวที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเพียงตัวอย่างโดยสามัญทั่วไป ผู้ใดต้องการจะทดสอบด้วยตนเอง ต้องขึ้นอยู่กับสภาพและความเหมาะสมกับตัวท่าน และตัดสิน พิจารณาโดยปัจเจกบุคคล เพื่อให้การใช้เหมาะสมกับร่างกาย
โรคที่เกี่ยวกับน้ำมูกทั้งหลาย เช่น หวัด ไข้หวัด หืด แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ ไซนัส และหลอดลมอักเสบ เหล่านี้ จะถูกละลายและขจัดไปจากร่างกายได้อย่างเร็ว ทำให้ผู้ที่ทดลองสูตรมะนาวหายใจโล่ง ไม่มีอาการอุดตันของเสมหะและน้ำมูกที่เกิดจากการแพ้ต่าง ๆ (Allergies) ในขั้นแรกอาการแพ้ยังคงปรากฏอยู่บ้าง แต่จะหายไปหลังจากร่างกายได้รับการชำระล้างแล้ว คนที่มีน้ำหนักมากเกินไป จะพบว่ามีประสบการณ์กับโรคเหล่านี้มากกว่าคนผอม และถ้าคนอ้วนเหล่านั้นยังคงฝืนกินอาหารที่ทำให้เกิดไขมันที่เป็นสารพิษกับร่างกายต่อไป โอกาสที่จะป่วยเป็นโรคก็จะมีมากขึ้น
น้ำมูกน้ำเมือก ที่เกิดขึ้นมากเกินปกตินั้น เป็นเพราะการกินและการดื่มของที่เสริมสร้างเสมหะมูกและเมือกเข้าไป หรืออาจจะพูดได้ว่าคุณเป็นโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะคุณกินมันเข้าไป ถ้าเราหยุดหุงหาอาหารที่ไร้ประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับบุคคลในครอบครัว ร่างกายของทุกคนในครอบครัวก็จะไม่สร้างสารพิษที่เป็นเสมหะ เมือก หรือ มูกต่าง ๆ รวมทั้งอาการแพ้นานาชนิดก็จะไม่เกิดขึ้นจนตลอดชีวิต
โรคหลายชนิดด้วยกัน ที่เกิดจากการรวมตัวของแคลเซียม (Calcium) มากเกินไปตามบริเวณไขข้อ กล้ามเนื้อ เซลล์ หรือต่อมต่าง ๆ จะถูกละลายและเคลื่อนไหวออกไปจากร่างกาย เช่นเดียวกันกับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ที่เข้ารวมอยู่ตามเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ และเส้นโลหิตต่าง ๆ ทั่วบริเวณก็จะได้รับการกำจัดโดยวีการเดียวกัน คือ สูตรมหัศจรรย์พลังน้ำมะนาว (The magic cleansing power of the Lemonade Diet) รวมทั้งโรคผิวหนังทุกชนิด จะอันตรธานหายไปสิ้น เมื่อทุกส่วนภายในของร่างกาย (เช่นเดียวกันกับภายนอก) ถูกชำระล้างให้สะอาดด้วยน้ำมะนาว ฝี หนอง สิว ตุ่มต่าง ๆ ก็รวมอยู่ในโรคผิวหนังด้วยเช่นกัน สภาวะต่าง ๆ นี้ ธรรมชาติเป็นผู้สั่งการกวาดล้างสารพิษ เชื้อพิษต่าง ๆ ได้ผลดีรวดเร็วยิ่ง
โรคติดต่อทุกชนิด ก็เป็นผลมาจากการสะสมสารพิษเป็นเวลานาน ซึ่งจะต้องถูกกำจัดหรือเผาผลาญ หรือทำปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำให้สารพิษเหล่านี้ออกไปจากร่างกายให้หมดสิ้น ตามความจริงแล้วโรคติดต่อ หรือการอักเสบทุกชนิด ธรรมชาติเป็นผู้สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดสมดุลในการเผาผลาญ และทำลายของเสีย แต่ถ้ามีมากเกินไปก็ทำอันตรายให้กับมนุษย์
แน่นอนที่สุด สูตรการบริโภคน้ำมะนาว เป็นสูตรการลดจำนวนอาหาร แต่มันมีประสิทธิภาพที่มากมายกว่านั้น นอกจากจะใช้ในการสะสางของเสียในร่างกายแล้ว ยังสามารถรักษาโรคแผลตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ประโยชน์ของมันมีเหลือคณานับทั้งลดไขมันส่วนเกิน เยียวยาบำบัดความป่วยไข้ และทั้งยังดำรงกระบวนการหมุนเวียนภายในให้ถูกระบบอีกด้วย
คนจะมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้ ก็เพราะกินอาหารที่ถูกต้องเท่านั้น คนจะสร้างเชื้อโรคให้กับตนเองเพราะกินอาหารผิด ๆ และเมื่อนั้นโรคต่าง ๆ ก็จะเป็นแขกประจำในร่างกายของท่าน แต่มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น คือ การล้างร่างกายภายในทั้งหมดด้วยน้ำมะนาว
ข้อควรสังเกต ข้อแนะนำในการบริโภคน้ำมะนาวที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเพียงตัวอย่างโดยสามัญทั่วไป ผู้ใดต้องการจะทดสอบด้วยตนเอง ต้องขึ้นอยู่กับสภาพและความเหมาะสมกับตัวท่าน และตัดสิน พิจารณาโดยปัจเจกบุคคล เพื่อให้การใช้เหมาะสมกับร่างกาย
เจ้าแห่งการชำระล้าง
ต้นกำเนิดของความพิเศษแห่งน้ำมะนาว
น้ำมะนาว ทำหน้าที่ล้างสิ่งปฏิกูลในร่างกาย และเสริมสร้างส่วนที่มาแทนที่เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติที่แสนวิเศษปลอดภัย เป็นที่รู้จักแก่มวลมนุษย์โลกว่ามีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินหลายชนิด และหารับประทานได้ตลอดปี จะใช้ในฤดูกาลใดกับคนส่วนไหนของโลก แทบจะไม่มีปัญหาใด ๆ เลย หาง่าย ราคาถูก และมีคุณสูงมาก ใช้รักษาโรคได้มากมายหลายชนิด
ข้อดีข้อแรกของน้ำมะนาว คือ ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นที่ยอมรับกันกว่า 40 ปีแล้ว นายบ๊อบ นอร์แมน เป็นผู้ร่วมวิจัยและค้นพบกับผู้เขียนเองในเรื่องนี้ วันหนึ่งไม่นาน ก่อนที่ข้าพเจ้าจะพบกับบ๊อบ ข้าพเจ้าเกิดแรงดลใจเขียนรายงานบันทึกเกี่ยวกับการรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายให้ในเวลา 10 วัน ข้าพเจ้าเขียนอย่างละเอียดทุกแง่มุม และจากนั้นก็รอผลการทดสอบ
บ๊อบ นอร์แทน ทนทุกข์ทรมานด้วยโรคแผนในกระเพาะอาหารมาเป็นเวลานานถึง 3 ปี ระหว่างนั้นเขาพยายามทุกวิถีทาง เพื่อทำให้เขาพ้นทุกข์ได้ แต่ไม่มีสิ่งใดเลย ไม่ว่าจะเป็นยาหรือการรักษาชนิดใดที่จะทำให้หายขาด นอกจากช่วยบรรเทาความทรมานได้เพียงบางครั้งบางคราว เขาจะต้องทานอาหารในทุก ๆ 2 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นเขาจะเจ็บปวดทรมานจนทนไม่ได้บางทีเป็นเวลา 3 เดือนติดกัน ที่เขาดื่มเพียงนมแพะเท่านั้นที่เป็นอาหาร หมอต้องการที่จะทำการผ่าตัดให้เขา แต่เขาปฏิเสธ เขาไม่เห็นด้วยกับการรักษาทางลัดเช่นนั้น เขายินดีกลับไปตายที่บ้านมากกว่าได้รับการผ่าตัด แต่เขาก็คิดว่าจะต้องมีทางอื่นที่ดีกว่านั้น ถ้าข้าเจ้าพอที่จะช่วยเขาได้ เพราะชีวิตเริ่มจะไม่มีค่าอะไรแล้วในสภาวการณ์เช่นนี้ เขากล่าว
สาเหตุของแผลในกระเพาะ ก็เริ่มมาจากการที่มีโซเดียมพอกติดกับผนังภายในของกระเพาะ และถ้ามันคงพอกหนาขึ้นมันก็จะไปจัดขวางน้ำย่อยไม่ให้มาย่อยอาหารน้ำย่อยก็จะไปย่อยเอากระเพาะอาหารเอง อย่างไรก็ตาม เมื่ออาหารเนื้อไม่ว่าจะเป็นอะไรในรูปใด ตกไปถึงกระเพาะ เจ้าเนื้อทั้งหลายก็จะไปกระตุ้นโซเดียมในทางเดียวกันกับน้ำย่อยจากผนังกระเพาะ โซเดียมก็จะมาหุ้มอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ทุกชนิด น้ำย่อยจึงย่อยไม่ได้ แล้วก็เกิดการสะสมโซเดียมมากขึ้น
ถ้าผู้ป่วยยังคงบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ต่อไป และข้อบกพร่องที่เกิดจากโซเดียมยังคงดำเนินอยู่ โดยที่โซเดียมยังมิได้ถูกกำจัดออกไปจากผนังกระเพาะอาหาร น้ำย่อยก็คงจะทำการย่อยกระเพาะต่อไป กระบวนการนี้เองที่เราเรียกว่า โรคกระเพาะอาหาร (Stomach ulcer) และการักษาระบบอื่นโดยทั่วไปย่อมล้มเหลวทั้งสิ้น
บางครั้งเนื้อสัตว์สามารถค้างอยู่ในกระเพาะได้นานกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป โดยไม่ได้รับการย่อย เริ่มที่จะบูดเน่า การบดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และย่อยเพื่อให้ร่างกายได้ดูดซึม ต้องผ่านลำไส้เล็ก เนื้อสัตว์ทุกชนิดร่างกายจะใช้เวลาย่อยนานกว่าผักพืชและผลไม้มาก อาหารพวกไก่และสัตว์ปีกจะใช้เวลานานที่สุดในการย่อย การที่เชื่อว่า เนื้อสัตว์เป็นสิ่งเสริมสร้างโปรตีนนั้นก็จริงอยู่ แต่มิได้หมายความว่าจะใช้การได้ทันทีสำหรับร่างกาย แต่สิ่งที่เป็น โปรตีนที่ใช้ได้ทันทีสำหรับร่างกาย กลับไม่ใช่เนื้อสัตว์
เมื่อเราพิจารณาดูแล้วจะพบว่า อาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิด เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสารพิษ และเป็นอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการนำมาใช้บำรุงส่วนต่าง ๆ แต่อย่างใด การกินเนื้อสัตว์เราต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสียแก่ร่างกาย ธรรมดาร่างกายของเราต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษากำจัดของเสีย เมื่อเราเพิ่มอาหารเนื้อสัตว์ที่มีระบบกำจัดของเสียเช่นเดียวกันกับเรา (หรือสัตว์อาจถูกใช้ยา หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ยังค้างอยู่ในเนื้อ) ให้กับร่างกาย ย่อมจะไปเพิ่มงานให้กับร่างกายให้ทำงานหนักมากขึ้นไปอีกในทุกส่วน
ข้อควรจำ ก็คือ อาหารแข็งต้องถูกบดย่อยให้เป็นสารเหลว ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อบำรุงร่างกาย อาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิดจะใช้เวลาย่อยนานกว่า อาหารพืช ผัก ผลไม้ และมีประโยชน์น้อยกว่าด้วย
กลับเข้าเรื่องของเราอีกครั้ง หลังจากที่บ๊อบได้สาธยายเสียยาว ข้าพเจ้าก็ถามเขาว่า “ต้องการจะหายจากโรคกระเพาะภายในเวลา 10 วันไหม?” เขาตอบว่า “แน่นอนที่สุดข้าพเจ้าจึงยื่นรายงานบันทึกเกี่ยวกับการควบคุมอาหารให้เขา บ๊อบอ่านอย่างตั้งใจจนจบ แล้วยื่นกลับมาให้ข้าพเจ้า แล้วตอบกับข้าพเจ้าว่า เขาได้วนเวียนอยู่กับผู้ที่เชี่ยวชาญทางโรคนี้เป็นเวลากว่า 3 ปี ทุกคนบอก “ห้ามแตะต้องมะนาวเด็ดขาว เพราะมีกรดซีคริกอยู่ เขาทำไม่ได้” เพราะทั้งหมดที่ข้าพเจ้าให้เขาตาม เกี่ยวกับมะนาวทั้งสิ้น
แต่เมื่อการรักษาทั่วไปมิได้ทำให้บ๊อบดีขึ้น ข้าพเจ้าจึงบอกว่า อาจมีข้อผิดพลาด แม้ว่าสูตรน้ำมะนาวจะไปจัดกับความเชื่อของแพทย์และผู้รู้ทั่วไป (ซึ่งเป็นผู้ล้มเหลวในการรักษาบ๊อบ) สัญชาติญาณบอกผมว่า อาจจะสัมฤทธิ์ผลก็ได้ครานี้ ข้าพเจ้าแน่ใจว่า จะไม่ทำอันตรายให้กับเขา แม้ว่าจะรักษาไม่ได้ดังคิด แต่ต้องมีส่วนดีเกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงหว่านล้อมบ๊อบว่า ถ้าผู้เชี่ยวชาญถูกต้องแล้วละก้อ คงรักษาบ๊อบหายไปเสียตั้งแต่ 3 ปีก่อนแล้ว อาจจะเป็นได้ว่าในสิ่งที่เขาถูกห้ามโดยเด็ดขาด อาจเป็นสิ่งที่จะรักษาเขาได้ บ๊อบคิดอยู่พักใหญ่แล้วตอบว่า “เอาละผมจะลองดู แม้ว่ามันจะฆ่าผม แต่ผมก็กำลังจะตามอยู่แล้วมันจะแปลกอะไร” บ๊อบแน่ใจเหลือเกิดว่ามันจะต้องไร้ผล
หลักจาก 5 วันผ่านไป บ๊อบโทรมาหาผม แม้ว่าเขาจะไม่มีอาการเจ็บปวดตั้งแต่เริ่มแรกเขาก็ยังหวั่นอยู่ว่า ไอ้ตัวปวดมันจะกลับมารังความเขาอีก ก่อนนั้นเขาต้องกินอาหารทุก 2 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะปวดกระเพาะจนสาหัส แต่วานซืนเขาอยู่ได้ถึง 8 ชั่วโมง โดยไม่ได้กินและดื่ม ไม่เจ็บปวด แต่ก็ยังหวั่นใจอยู่ ข้าพเจ้าให้คำยืนยันว่า ถ้าเขาพิสูจน์มา 5 วัน โดยไม่มีการเจ็บปวด ต่อไปก็จะเป็นผลดีอย่างไม่มีปัญหา เพียงแต่ให้เขาทำต่อให้ครบ 10 วัน วันที่ 11 เขาไปหาแพทย์ประจำตัว แพทย์ยืนยันว่า โรคกระเพาะของเขาหายขาดแล้ว ไม่ต้องใช้คำอธิบายใด ๆ แพทย์ของเขามึนหยิ่ง เพราะได้ตรวจบ๊อบอย่างละเอียดครบถ้วน ทั้ง X-ray และยังจำได้ถึงคำแนะนำที่ตนให้กับบ๊อบถึงการงดอาหาร และการผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายที่จะช่วยบ๊อบให้รอดชีวิตได้
และยังมีอีกหลายรายในกรณีเดียวกันที่ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะโรคกระเพาะอาหารนี้ได้ในเวลาเพียง 10 วัน ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ยังสามารถจัดระบบที่รวดเรอื่น ๆ ของร่างกายให้กลับสู่สภาพปกติได้ภายในเวลา 10 วัน เช่นกัน
น้ำมะนาว ทำหน้าที่ล้างสิ่งปฏิกูลในร่างกาย และเสริมสร้างส่วนที่มาแทนที่เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติที่แสนวิเศษปลอดภัย เป็นที่รู้จักแก่มวลมนุษย์โลกว่ามีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินหลายชนิด และหารับประทานได้ตลอดปี จะใช้ในฤดูกาลใดกับคนส่วนไหนของโลก แทบจะไม่มีปัญหาใด ๆ เลย หาง่าย ราคาถูก และมีคุณสูงมาก ใช้รักษาโรคได้มากมายหลายชนิด
ข้อดีข้อแรกของน้ำมะนาว คือ ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นที่ยอมรับกันกว่า 40 ปีแล้ว นายบ๊อบ นอร์แมน เป็นผู้ร่วมวิจัยและค้นพบกับผู้เขียนเองในเรื่องนี้ วันหนึ่งไม่นาน ก่อนที่ข้าพเจ้าจะพบกับบ๊อบ ข้าพเจ้าเกิดแรงดลใจเขียนรายงานบันทึกเกี่ยวกับการรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายให้ในเวลา 10 วัน ข้าพเจ้าเขียนอย่างละเอียดทุกแง่มุม และจากนั้นก็รอผลการทดสอบ
บ๊อบ นอร์แทน ทนทุกข์ทรมานด้วยโรคแผนในกระเพาะอาหารมาเป็นเวลานานถึง 3 ปี ระหว่างนั้นเขาพยายามทุกวิถีทาง เพื่อทำให้เขาพ้นทุกข์ได้ แต่ไม่มีสิ่งใดเลย ไม่ว่าจะเป็นยาหรือการรักษาชนิดใดที่จะทำให้หายขาด นอกจากช่วยบรรเทาความทรมานได้เพียงบางครั้งบางคราว เขาจะต้องทานอาหารในทุก ๆ 2 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นเขาจะเจ็บปวดทรมานจนทนไม่ได้บางทีเป็นเวลา 3 เดือนติดกัน ที่เขาดื่มเพียงนมแพะเท่านั้นที่เป็นอาหาร หมอต้องการที่จะทำการผ่าตัดให้เขา แต่เขาปฏิเสธ เขาไม่เห็นด้วยกับการรักษาทางลัดเช่นนั้น เขายินดีกลับไปตายที่บ้านมากกว่าได้รับการผ่าตัด แต่เขาก็คิดว่าจะต้องมีทางอื่นที่ดีกว่านั้น ถ้าข้าเจ้าพอที่จะช่วยเขาได้ เพราะชีวิตเริ่มจะไม่มีค่าอะไรแล้วในสภาวการณ์เช่นนี้ เขากล่าว
สาเหตุของแผลในกระเพาะ ก็เริ่มมาจากการที่มีโซเดียมพอกติดกับผนังภายในของกระเพาะ และถ้ามันคงพอกหนาขึ้นมันก็จะไปจัดขวางน้ำย่อยไม่ให้มาย่อยอาหารน้ำย่อยก็จะไปย่อยเอากระเพาะอาหารเอง อย่างไรก็ตาม เมื่ออาหารเนื้อไม่ว่าจะเป็นอะไรในรูปใด ตกไปถึงกระเพาะ เจ้าเนื้อทั้งหลายก็จะไปกระตุ้นโซเดียมในทางเดียวกันกับน้ำย่อยจากผนังกระเพาะ โซเดียมก็จะมาหุ้มอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ทุกชนิด น้ำย่อยจึงย่อยไม่ได้ แล้วก็เกิดการสะสมโซเดียมมากขึ้น
ถ้าผู้ป่วยยังคงบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ต่อไป และข้อบกพร่องที่เกิดจากโซเดียมยังคงดำเนินอยู่ โดยที่โซเดียมยังมิได้ถูกกำจัดออกไปจากผนังกระเพาะอาหาร น้ำย่อยก็คงจะทำการย่อยกระเพาะต่อไป กระบวนการนี้เองที่เราเรียกว่า โรคกระเพาะอาหาร (Stomach ulcer) และการักษาระบบอื่นโดยทั่วไปย่อมล้มเหลวทั้งสิ้น
บางครั้งเนื้อสัตว์สามารถค้างอยู่ในกระเพาะได้นานกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป โดยไม่ได้รับการย่อย เริ่มที่จะบูดเน่า การบดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และย่อยเพื่อให้ร่างกายได้ดูดซึม ต้องผ่านลำไส้เล็ก เนื้อสัตว์ทุกชนิดร่างกายจะใช้เวลาย่อยนานกว่าผักพืชและผลไม้มาก อาหารพวกไก่และสัตว์ปีกจะใช้เวลานานที่สุดในการย่อย การที่เชื่อว่า เนื้อสัตว์เป็นสิ่งเสริมสร้างโปรตีนนั้นก็จริงอยู่ แต่มิได้หมายความว่าจะใช้การได้ทันทีสำหรับร่างกาย แต่สิ่งที่เป็น โปรตีนที่ใช้ได้ทันทีสำหรับร่างกาย กลับไม่ใช่เนื้อสัตว์
เมื่อเราพิจารณาดูแล้วจะพบว่า อาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิด เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสารพิษ และเป็นอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการนำมาใช้บำรุงส่วนต่าง ๆ แต่อย่างใด การกินเนื้อสัตว์เราต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสียแก่ร่างกาย ธรรมดาร่างกายของเราต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษากำจัดของเสีย เมื่อเราเพิ่มอาหารเนื้อสัตว์ที่มีระบบกำจัดของเสียเช่นเดียวกันกับเรา (หรือสัตว์อาจถูกใช้ยา หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ยังค้างอยู่ในเนื้อ) ให้กับร่างกาย ย่อมจะไปเพิ่มงานให้กับร่างกายให้ทำงานหนักมากขึ้นไปอีกในทุกส่วน
ข้อควรจำ ก็คือ อาหารแข็งต้องถูกบดย่อยให้เป็นสารเหลว ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อบำรุงร่างกาย อาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิดจะใช้เวลาย่อยนานกว่า อาหารพืช ผัก ผลไม้ และมีประโยชน์น้อยกว่าด้วย
กลับเข้าเรื่องของเราอีกครั้ง หลังจากที่บ๊อบได้สาธยายเสียยาว ข้าพเจ้าก็ถามเขาว่า “ต้องการจะหายจากโรคกระเพาะภายในเวลา 10 วันไหม?” เขาตอบว่า “แน่นอนที่สุดข้าพเจ้าจึงยื่นรายงานบันทึกเกี่ยวกับการควบคุมอาหารให้เขา บ๊อบอ่านอย่างตั้งใจจนจบ แล้วยื่นกลับมาให้ข้าพเจ้า แล้วตอบกับข้าพเจ้าว่า เขาได้วนเวียนอยู่กับผู้ที่เชี่ยวชาญทางโรคนี้เป็นเวลากว่า 3 ปี ทุกคนบอก “ห้ามแตะต้องมะนาวเด็ดขาว เพราะมีกรดซีคริกอยู่ เขาทำไม่ได้” เพราะทั้งหมดที่ข้าพเจ้าให้เขาตาม เกี่ยวกับมะนาวทั้งสิ้น
แต่เมื่อการรักษาทั่วไปมิได้ทำให้บ๊อบดีขึ้น ข้าพเจ้าจึงบอกว่า อาจมีข้อผิดพลาด แม้ว่าสูตรน้ำมะนาวจะไปจัดกับความเชื่อของแพทย์และผู้รู้ทั่วไป (ซึ่งเป็นผู้ล้มเหลวในการรักษาบ๊อบ) สัญชาติญาณบอกผมว่า อาจจะสัมฤทธิ์ผลก็ได้ครานี้ ข้าพเจ้าแน่ใจว่า จะไม่ทำอันตรายให้กับเขา แม้ว่าจะรักษาไม่ได้ดังคิด แต่ต้องมีส่วนดีเกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงหว่านล้อมบ๊อบว่า ถ้าผู้เชี่ยวชาญถูกต้องแล้วละก้อ คงรักษาบ๊อบหายไปเสียตั้งแต่ 3 ปีก่อนแล้ว อาจจะเป็นได้ว่าในสิ่งที่เขาถูกห้ามโดยเด็ดขาด อาจเป็นสิ่งที่จะรักษาเขาได้ บ๊อบคิดอยู่พักใหญ่แล้วตอบว่า “เอาละผมจะลองดู แม้ว่ามันจะฆ่าผม แต่ผมก็กำลังจะตามอยู่แล้วมันจะแปลกอะไร” บ๊อบแน่ใจเหลือเกิดว่ามันจะต้องไร้ผล
หลักจาก 5 วันผ่านไป บ๊อบโทรมาหาผม แม้ว่าเขาจะไม่มีอาการเจ็บปวดตั้งแต่เริ่มแรกเขาก็ยังหวั่นอยู่ว่า ไอ้ตัวปวดมันจะกลับมารังความเขาอีก ก่อนนั้นเขาต้องกินอาหารทุก 2 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะปวดกระเพาะจนสาหัส แต่วานซืนเขาอยู่ได้ถึง 8 ชั่วโมง โดยไม่ได้กินและดื่ม ไม่เจ็บปวด แต่ก็ยังหวั่นใจอยู่ ข้าพเจ้าให้คำยืนยันว่า ถ้าเขาพิสูจน์มา 5 วัน โดยไม่มีการเจ็บปวด ต่อไปก็จะเป็นผลดีอย่างไม่มีปัญหา เพียงแต่ให้เขาทำต่อให้ครบ 10 วัน วันที่ 11 เขาไปหาแพทย์ประจำตัว แพทย์ยืนยันว่า โรคกระเพาะของเขาหายขาดแล้ว ไม่ต้องใช้คำอธิบายใด ๆ แพทย์ของเขามึนหยิ่ง เพราะได้ตรวจบ๊อบอย่างละเอียดครบถ้วน ทั้ง X-ray และยังจำได้ถึงคำแนะนำที่ตนให้กับบ๊อบถึงการงดอาหาร และการผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายที่จะช่วยบ๊อบให้รอดชีวิตได้
และยังมีอีกหลายรายในกรณีเดียวกันที่ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะโรคกระเพาะอาหารนี้ได้ในเวลาเพียง 10 วัน ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ยังสามารถจัดระบบที่รวดเรอื่น ๆ ของร่างกายให้กลับสู่สภาพปกติได้ภายในเวลา 10 วัน เช่นกัน
อานุภาพพระปริตต์
เริ่มเรื่องพระปริตต์
บรรดา เวทมนตร์ทั้งหลาย ที่นับถือกันว่าเป็นมนต์ขลังและศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา สามารถปัด เป่าบรรดาอุปัทวันตรายภัยพิบัติขจัดภูตผีปิศาจและเหล่าอมนุษย์ที่เลวร้าย ป้องกันสรรพภัยจากโจร จากไฟ ปัดเป่าเสนียดจัญไร และดาวร้าย บาปเคราะห์ ขจัดลางชั่วและฝันร้ายทั้งสรรพสิ่งอวมงคล ตลอดจนเสียงนกที่ก่อความรำคาญไม่พึงใจ นำมาซึ่งความเย็นใจ คลายทุกข์ มีความเกษมสุขสวัสดี มีชัย ประสบสิ่งมิ่งมงคลเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกประการ เวทมนตร์ทั้งหลายนั้นก็คือ พระปริตต์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ที่เรียกกันว่า สัตตปริตต์ และ ทวาทสปริตต์ หรือ เจ็ดตำนานและ สิบสองตำนาน อันเป็นพระพุทธมนต์ที่มีเดชมีอานุภาพแผ่ไปทั่วสากลจักรวาล ดังจะกล่าวต่อ ไปในเรื่องอานุภาพพระปริตต์นี้
กำเนิดพระปริตต์
มีผู้กล่าวว่า พระพุทธศาสนารับเอาแนวความคิดเรื่อง พระปริตต์นี้มาจาก รักษามนต์ ในคัมภีร์ อถรรพเวท (อถรฺเวท) แล้วดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และเรียกชื่อเสีย ใหม่ว่า "ปริตฺตา" แม้กระนั้นในที่บางแห่งก็ยังนำเอาคำว่า "รกฺษ" มาใช้ในรูปคำบาลี "รกฺขา" ควบคู่ กับ "ปริตฺตา" เช่น " กตา เม รกฺขาม กตา เม ปริตฺตา- ข้าพเจ้าได้ทำการป้องกันรักษาแล้ว, ข้าพเจ้าได้ ทำการคุ้มครองป้องกันแล้ว" หรือใช้แทนกัน เช่น อยํ โข สา มาริส อาฏานาฏิยา รกฺขา-ดูก่อนสหายผู้ นิรทุกข์ อาฏานาฏิยารักษานั้นนี้แล" และคงรับเข้ามาเป็นแนวปฏิบัติตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมี กล่าวถึงในคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ว่า พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้นางภิกษุณีเรียนหรือบอกติรัจฉานวิชา ใครเรียนหรือบอกต้องอาบัติ แต่ผู้เรียนและบอกพระปริตต์เพื่อคุ้มครองป้องกันตัว ไม่เป็นอาบัติ** พระปริตต์ที่กล่าวถึงในภิกขุนีวิภังค์นั้น มิได้ระบุไว้ว่าเป็นข้อความอย่างใด แต่มีกล่าวถึงพระภิกษุถูก งูกัดตาย และพระพุทธเจ้าได้ทรงทราบจึงโปรดประทานพระพุทธานุญาติให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยัง ตระกูลพญางู 4 ตระกูล เพื่อเป็นการคุ้มครองรักษาป้องกันตนเอง*** โดยมีคาถาสำหรับสวดเป็น ประปริตต์ไว้ด้วยคือที่เรียกว่า ขันธปริตต์หรืออหิราชปริตต์**** และมีพระสูตรหลายพระสูตรที่พระ พุทธเจ้าทรงใช้เป็นพระปริตต์โดยพระองค์เองบ้าง เช่น รตนปริตต์ และตรัสสอนให้พระภิกษุใช้เป็น พระปริตต์บ้าง เช่น กรณียเมตตปริตต์ อย่างไรก็ดี แม้จะมีเรื่องราวกล่าวถึงพระปริตต์ไว้ในคัมภีร์ ต่าง ๆ แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าในครั้งพุทธกาลได้มีผู้รวบรวมพระปริตต์เป็นหมวดหมู่ หลักฐานเก่าแก่ ที่พูดถึงพระปริตต์ต่าง ๆ ในสมัยต่อมาก็คือ คัมภีร์บาลีมิลินทปัญหา ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ 5 ได้ระบุถึงพระปริตต์ไว้ 5 หรือ 6 ปริตต์ คือ ใน มิลินทปัญหา* ระบุถึงไว้ 5 ปริตต์ คือ * Sacred Books of the Buddishts, Dialogues of the Buddha, part III: pp.170, 186 * ฉบับพิมพ์อักษรไทย ของ มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า 206
ขันธปริตต์ 1 สุวัตถิปริต์ 1 (ในที่นี้เรียกรัตนปริตต์ว่า สุวัตถิปริตต์) โมรฺปริตต์ 1 ธชัคคปริตต์ 1อาฏานาฏิยปริตต์ 1 แต่ใน มิลินทปัญโห (The Milindapanho)** ระบุไว้ 6 ปริตต์ คือ รตนสูตร 1 ขันธปริตต์ 1 โมรปริตต์ 1 ธชัคคปริต์ 1 อาฏานาฏิยปริตต์ 1 องคุลิมาลปริตต์ 1 ต่อมาอีกราว 500 ปี คือ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านพระพุทธโฆสเถระ ได้แต่งพระคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ เมื่อกล่าวถึง อานุภาพของพระปริตต์ก็ได้ระบุถึงประปริตต์ไว้เพียง 5 ปริตต์ คือ รนตปริตต์ 1 ขันธปริตต์ 1 ธชัคค ปริต์ 1 อาฏานาฏิยปริตต์ 1 โมรปริตต์ 1*** แต่ในปฐมสมันตปาสาทิกา ระบุไว้ 6 ปริตต์ คือ รตน ปริตต์, เมตตปริตต์, ขันธปริตต์, ธชคคปริตต์, อาฏานาฏิยปริตต์ และ โมรปริตต์****
มีเรื่องกล่าวท้าวความถึงคัมภีร์พระปริตต์ ไว้ในประวัติของท่านพุทธโฆส (พุทฺธโฆสุปฺหตฺติ) ว่า ก่อน ที่ท่านพุทธโฆสจะมาลังกาทวีปนั้น ท่านกำลังริเริ่มจะเขียนอรรถกถาปริตตาสูตรอยู่แล้ว ก็พอดี อาจารย์ของท่านคือท่านมหาสถวีระเรวัติได้แนะนำให้ท่านเดินทางมายังลังกาทวีป เพื่อแปลคัมภีร์ อรรถกถาต่าง ๆ จากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษามคธ ท่านพระพุทธโฆสได้เดินทางมาทวีปลังกา ใน รัชสมัยของพระเจ้ามหานาม เป็นกษัตริย์ทรงครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ. 953 ถึง พ.ศ. 975 เมื่ออยู่ในลังกานั้น ท่านพุทธโฆสพำนักอยู่ในมหาวิหารในกรุงอนุราธปุระ และเมื่อท่านแสดงความ จำนงจะแปลอรรถกถาภาษาสิงหลออกเป็นภาษามคธต่อพระสังฆเถระ และขออนุญาตตรวจค้น พระคัมภีร์ต่าง ๆ นั้น ท่านพระสังฆเถระก็ได้ทดลองภูมิปัญญาของท่านโดยมอบคาถาหนึ่ง จาสัง ยุตตนิกาย สคาวัคค์ ให้แต่งอธิบายขยายความ คือ คาถาว่า :- สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํอาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฎํ*
พระภิกษุผู้เป็นนรชนมีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้วทำสมาธิ วิปัสสนาให้เกิดขึ้นมีความพากเพียรไตร่ตรองไป พึงสะสางซึ่งสิ่งเป็นรกชัฎ ในจิตนี้ให้หายรกได้
ท่าน พุทธโฆสจึงใช้คาถานี้เป็นหัวข้อแต่งคัมภรีวิสุทธิมัคค์ขึ้นและมีระบุชื่อพระปริตต์ 5 ปริตต์ดัง กล่าวข้างต้น จึงอาจพิจารณาได้เป็น 2 กระแสความ กระแสความหนึ่งแสดงว่า ในสมัยของท่าน พุทธโฆส เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 นั้น มีคัมภีร์พระปริตต์อยู่แล้ว อีกกระแสความหนึ่งแสดงว่าคัมภีร์ พระปริตต์ที่รู้จักกันในสมัยนั้นมีอยู่ราว 5 หรือ 6 ปริตต์เท่านั้น ดังระบุชื่อมาข้างต้นซึ่งท่านพุทธโฆสเคยริเริ่มจะเขียนอรรถกถาอธิบายความอยู่แล้ว ** The Milindapanho, ฉบับพิมพ์อักษรโรมันของ Pali Text Society, pp. 150-151 และดู The Milinda's Question, Vok.I,p.211 ด้วย.*** วิสุทฺธิมคฺค, ทุติยภาค, น. 255****สมนฺตปาสาทิกา ปฐมภาค, น. 178 * ดูหนังสือ- ท่านผู้สร้างคัมภีร์พระพุทธศาสนาในภาษาบาลี ของผู้เรียบเรียง หน้า 18-20
แต่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกา) ซึ่งท่านผู้รู้นำมากล่าวอ้างและเล่าอ้างและเล่า เป็นประวัติไว้ว่าในรัชสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 ทรงครองราชสมบัติในประเทศลังกา (ระหว่าง พ.ศ.911-953) ก่อนรัชกาลของพระเจ้ามหานามผู้เป็นพระอนุชาธิราช ได้เกิดทุพภิกขภัยและโรค ระบาดขึ้นในประเทศลังกา พระเจ้าอุปติสสะจึงตรัสปรึกษาพระภิกษุสงฆ์ถึงอุบายที่จะขจัดปัดเป่า ภัยเหล่านั้น มิให้ประชาชนต้องรับทุกข์มาก พระภิกษุสงฆ์จึงทูลเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จนครเวสาลี และตรัสรตนสูตรขจัดภัย 3 ประการให้สิ้นไปในครั้งพุทธกาล ให้ทรงทราบ* พระเจ้าอุปติสสะจึง โปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองคำเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร แล้วโปรดให้นำบาตรศิลาใส่น้ำวางใน พระหัตถ์ (บาตรศิลานี้ทางลังกาอ้างว่าเป็นบาตรของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหินทรเถระได้นำมาแต่ ชมพูทวีป) แล้วนำพระพุทธรูปทองคำขึ้นประดิษฐานบนราชรถ พระมหากษัตริย์ไปรดให้ตกแต่ง ประดับประดาพระนครอย่างงดงาม แล้วพระองค์เองทรงสมาทานศีลด้วย แล้วโปรดให้นำราชรถ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำอุ้มบาตรน้ำพระพุทธมนต์แห่ไปตามถนนในพระนครพร้อมกับนิมนต์ พระภิกษุสงฆ์ใหญ่เดินตามราชรถ สวด รตนสูตร และประพรมน้ำ (พระพุทธมนต์) ไปด้วย พระ มหากษัตริย์เองก็ทรงเข้าร่วมไปในพิธีนี้ และเสด็จพระราชดำเนินไปกับภิกษุสงฆ์ด้วย ฝนห่าใหญ่ก็ เทลงมา ทุพภิกขภัยและโรคระบาดก็หายไป พระเจ้าอุปติสสะจึงโปรดให้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ไว้ว่า แต่นี้ต่อไป หากเกิดภัยเช่นนี้ขึ้นในเกาะลังกาอีก ขอให้ทำพิธีปัดเป่าเช่นเดียวกับที่พระองค์ โปรดให้ทำขึ้นในครั้งนี้ และโปรดให้เรียกพิธีนี้ว่า "คังคาโรหนะ" ไม่ต้องสงสัย ชื่อนี้ต้องหมายถึงพิธี เลียนแบบเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา คราวที่เสด็จไปและกลับจากเมืองเวสาลีใน ครั้งพุทธกาล ไม่ทราบกันว่าพระมหากษัตริย์ของลังกาพระองค์ใดบ้าง ได้ทราบดำเนินตามพระราชจริยาวัตรของ พระเจ้าอุปติสสะ แต่มีกล่าวถึงพระเจ้าเสนะที่ 2 (ซึ่งทรงครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ.1394- 1428) เมื่อเกาะลังกาเกิดโรคระบาดขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ก็ได้ทรงทำพิธีคล้ายกับพระเจ้าอุ ปติสสะที่ 1 แต่ในพิธีนั้น แทนที่จะใช้พระพุทธรูปอย่างในรัชกาลพระเจ้าอุปติสสะ พระเจ้าเสนะที่ 2 โปรดให้เชิญรูปพระอานนทเถระไปตามถนนในพระนคร แล้วนิมนต์พระภิกษุสงฆ์เดินตามสวด พระปริตต์และประพรม ปริตตาปาน (น้ำพระปริตต์)* ไปด้วยการที่พระเจ้าเสนะที่ 2 นำเอารูป พระอานนทเถระมาใช้ในพิธีนี้ นับว่าเข้ากับเรื่องราวการระงับภัย 3 ประการในเมืองเวสาลี ครั้ง พุทธกาลอยู่เหมือนกัน เพราะในครั้งนั้น พระอานนทเถระเป็นผู้อัญเชิญบาตรน้ำมนต์พระพุทธเจ้า เดินสวด รตนสูตร และประพรมน้ำจากบาตรไปตามถนนหนทางในเมืองเวสาลี ถือได้ว่าพระเจ้า เสนะที่ 2 ทรงดำเนินตามแบบอย่างของพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 แต่มีรายละเอียดแตกต่างออกไป ทั้ง กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเสนะที่ 2 ได้โปรดให้จารึกรตนสูตรลงไว้ในแผ่นทองคำด้วย ต่อมาพระเจ้ากัสสป ที่ 5 (ครองราชย์ในลังการะหว่าง พ.ศ. 1456-1466) ได้ทรงร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ 3 นิกาย สวดพระ ปริตต์ขจัดปัดเป่าทุพภิกขภัยและโรคระบาดในพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่จะได้ทรงดำเนินตามแบบ อย่างที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ เข้าใจว่าอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาล เวลา แต่มีกล่าวย้อนหลังไปถึงเมื่อครั้งรัชกาลของพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 (พ.ศ. 1201-1217) ว่าได้มี พิธีทางพระปริตต์เหมือนกัน แต่มิได้ * ดู รตนปริตต์ ใน ทวาทสปริตต์ หรือ สิบสองตำนาน * ไทยเราเรียกว่า "ปริตโตทก" แปลว่า "น้ำพระปริตรม น้ำพระพุทธมนต์" ดู- พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน
บอกถึงเหตุการณ์และให้รายละเอียด ต่อมาเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ได้มีพิธี คังคาโรหณะ ขึ้นที่เมืองมาตระในลังกาภาคใต้ ซึ่งท่านโทมัส มุหันทิรมะได้เขียนกลอนเป็นภาษาสิงหฬ ชื่อ คังคาโรหณะวัณณนา บรรยายไว้โดยพิสดาร*
ตามข้อความที่กล่าวมาข้างต้น ท่านคงจะสังเกตได้ว่าเมื่อท่านพุทธโฆสเดินทางมายังเกาะลังกานั้น เป็นรัชสมัยของพระเจ้ามหานามเป็นพระมหากษัตริย์ครองประเทศ ซึ่งเป็นรัชกาลต่อจากพระเจ้าอุ ปติสสะที่ 1 ในระยะที่ท่านพุทธโฆสมาอยู่ในลังกานั้น ข่าวคราวเกี่ยวกับที่พระเจ้าอุปติสสะ โปรดให้ทำพิธี คังคาโรหณะ อาจยังเล่าลือกันอยู่หรืออาจมีพระภิกษุสงฆ์และประชาชนชาวลังกา พูดถึงและเล่าให้ท่านฟังด้วยซ้ำ แต่พระสูตรที่ใช้สวดในพิธีคังคาโรหณะก็ระบุถึงไว้แต่ประ ปริตต์เดียว คือ รนตสูตร ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ที่ท่านพุทธโฆสแต่ ท่านได้ระบุไว้ถึง 5 พระปริตต์ อาจระบุตามที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์มิลินทปัญหาก็ได้ เพราะปรากฎตามคัมภีร์มิลินทปัญหาระบุชื่อไว้ เพียง 5 หรือ 6 ปริตต์ ไม่ปรากฎระบุไว้หรือมีเกินกว่านั้น บางท่านจึงคาดคะเนว่าคงจะมีผู้นำเอา มงคลสูตร** และกรณียเมตตสูตร มาใช้สวดพระปริตต์ด้วย อย่างไรก็ดี พิธีสวดพระปริตต์ตามเรื่อง ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ข้างต้นแสดงว่า ทำกันในบางรัชกาลของพระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศลังกา เช่นในรัชกาลพระเจ้ากัสสปที่ 5 และย้อนหลังกลับไปถึงรัชกาลพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 ก็มีพิธีสวดพระ ปริตต์ จึงอาจเป็นว่าพระเถระในชมพูทวีปและตลอดมาจนพระเถระชาวลังกาอาจเลือกคัดพระสูตร พระคาถา และพุทธวจนต่าง ๆ มารวมขึ้นไว้ โดยมุ่งหมายใช้สำหรับบริกรรมหรือพร่ำบ่นภาวนา อย่างเดียวกับมนต์ต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองป้องกันรักษาตัว เช่นที่ทรงประทานพระพุทธานุญาตไว้ใน วินัยปิฎกดังกล่าวมาข้างต้น จึงเรียกว่า "ปริตตะ" ซึ่งมีความหมายว่าความคุ้มครองป้องกัน
การเลือกคัดพระพุทธวจนะในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกมารวมเข้าเป้นคัมภีร์พระปริตต์สำหรับสวด หรือพร่ำบ่นภาวนานั้น คงจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบย่อและแบบพิสดาร แบบย่อเรียกว่า "ปริตต์" และ แบบพิสดารเรียกว่า "มหาปริตต์"* หรือเรียกตามจำนวนของพระปริตต์ว่า "สัตตปริตต์ (เจ็ดตำนาน)" แบบหนึ่งและ ทวาทสปริตต์ (สิบสองตำนาน)" แบบหนึ่ง ต่อมาในกาลใดกาลหนึ่งพระมาห กษัตริย์ในทวีปลังกา เช่นที่มีพระนามระบุถึงมาข้างต้น ได้โปรดให้ใช้พระปริตต์นั้นเป็นแบบฉบับ สำหรับสวดในพระราชพิธี จึงเรียกแบบสัตตปริตต์ว่า "จุลราชปริตต์" และเรียกแบบทวาทสปริตต์ว่า " มหาราชปริตต์" คัมภีร์พระปริตต์ดังกล่าวนี้ ชาวลังกาเขาเรียกและรู้จักกันในภาษาสิงหลว่า "ปิริต- โปตะ" และอาจเป็นว่าในสมัยต่อมาพระเถระชาวลังกาคงจะได้เลือกคัดพระสูตรและพระพุทธวจนะ อื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก สำหรับสวดเป็นครั้งเป็นคราว ครั้นเลือกคัดมารวมไว้มากเข้าก็จำต้องแบ่ง ธรรมประเภทออกส่วนกำหนดเป็นตอน ๆ เรียกว่า "ภาณวาร" มี 4 ภาณวาร เรียกรวมว่า "จตุภาณ วาร" จตุภาณวารในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงของเรามีธรรมประเภท 22 ภาค แต่ของลังกาดู เหมือนจะมีจำนวนมากกว่า ซึ่งลังกาอาจเพิ่มเติมขึ้นอีกในภายหลังก็ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ * History of Buddhism in Ceylon by Walpola Rahula, pp.276-278 * The Pali Literature of Ceylon by G.P. Malalasekera, pp.75-6.* An Introduction to Pali Literature by Dr.S.C. Banerji, p.94จึงไม่อาจทราบกันว่าใครเป็นผู้ราบรวมคัมภีร์จตุภาณวาร ? และรวบรวมขึ้นแต่เมื่อใด ? เพราะคง จะรวบรวมขึ้นหลายครั้งหลายคราวตามแต่เหตุการณ์โดยพระเถระต่างสมัย เมื่อมีคัมภีร์จตุภาณ วารขึ้นแล้ว การสวดราชปริตต์ในลังกาทวีปก็เลิกไป แม้ฉบับก็สูญจนพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงหาได้ฉบับจากเมืองยะไข่ไปประทานจึงกลับมีขึ้น การสวดมนต์ของพระลังกาสวดพระสูตรและ คาถาต่าง ๆ ตามสะดวก แต่การสวดภาณวารในลังกายังนับถือกันมาก* ดูเหมือนชาวลังกาจะรู้จัก และเรียกคัมภีร์จตุภาณวารรวม ๆ กันไปว่า "ปิริต-โปตะ" ด้วย
คัมภีร์จตุภาณวารนี้ต่อมาท่านอานันทวันรัตนเถระชาวลังกาได้สั่งให้ศิษย์ (มิได้ระบุชื่อไว้) ของท่าน เขียนอรรถกถาหรือ จตุภาณวารฏฺฐกถา ขึ้น เรียกชื่อว่า สารัตถสมุจจัย แต่ในปณามคาถาของสา รัตถสมุจจัยกล่าวระบุไว้ว่า ท่านผู้แต่งคัมภีร์สารัตถสมุจจัย คือ พระเถระมีนามว่า อโนมทัสสี** ผู้ เป็นสังฆราช สถิต ณ นครโปโลนนรุวะ ซึ่งเป็นราชธานีของประเทศลังกาในสมัยหนึ่ง และว่าแต่งขึ้น ในรัชกาลประเจ้าปรักกมพาหุ** ซึ่งยกย่องเป็นมหาราชาองค์หนึ่งของลังกา ทรงครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1696-1729 สันนิษฐานว่าไทยคงจะได้ฉบับคัมภีร์สารัตถสมุจจัยเข้ามาในประเทศ ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แปลเป็นภาษาไทยขึ้นครบบริบูรณ์ในรัชกาลที่ 3 กรุงรัตน โกสินทร์และหอพระสมุดวชริญาณ ได้จัดทะยอยให้ท่านผู้มีศรัทธาพิมพ์ออกเป็นเล่มครั้งละพระ ปริตต์จนครบบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2460 ส่วนคัมภีร์พระปริตต์หรือเจ็ดตำนานและสิบสองตำนานนั้น ไทยเราคงจะได้รับมาพร้อมกับรับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะเมื่อรับพระพุทธศาสนาแบบหินยาน และลัทธิลังกาวงศ์
ความมุ่งหมายของพระปริตต์
เมื่อประโบราณาจารย์ได้เลือกคัดจัดสรรพระสูตร พระคาถา และพระพุทธวจนะ โดยมากจากคัมภีร์ ขุททกนิกายในพระสุตตันตปิฎกมารวมขึ้นแล้วเรียกรวมเป็นคัมภีร์ปริตต์ เช่นที่ลังกาเรียกว่า "ปิริต-โป ตะ" นั้น เห็นได้ว่าเพี้ยนคำจาก "ปริตตโปฏกะ" ไปตามสำเนียงพื้นเมือง คำว่า "ปริตฺต" ก็มาจาก " ปริ" อุปสรรคกับ "ตา" หรือ "ตฺรา" ธาตุ แปลว่า คุ้มครอง, ป้องกัน, รักษา ผสมกันเป็นรูปศัพท์บาลีว่า "ปริตฺต" หรือ "ปริตฺตา" แปลว่า การคุ้มครองรักษา หรือความคุ้มครองรักษาหรือความคุ้มครองป้อง กัน หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน ก็ได้ เป็นคนละความกับ ปริตตะ อีกคำหนึ่ง ซึ่งแปลว่านิดหน่อย เล็กน้อย นอกจากคำว่า "รักขา" ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีคำที่ใช้คู่กันกับ "ปริตต์ อีกคำหนึ่งคือ " ตาณ" แปลว่าการป้องกัน, การต้านทาน แล้วโบราณแผลงเป็นคำศัพท์ว่า "ตำนาน" หรือ "ดำนาณ" และให้คำแปลว่าเครื่องห้าม เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง ที่อาศัย* แต่เรามาใช้เขียนกัน เพี้ยนไปเป็น เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน (คือเปลี่ยน ณ เป็น น) * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในตำนานพระปริตร และพระนิพนธ์คำ นำในสารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวารแปล * สารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวาร แก้บทคำนมัสการแลสรณคมน์ * พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เลยมีความหมายแปลไปว่าเรื่องราวเก่าแก่ ไม่ตรงกับความหมายเดิม เพราะฉะนั้นในที่นี้ถ้าหมาย ถึงเรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลังหรือเรื่องราวนมนานที่ต่อปากกันมา หรือเรื่องราวเก่าแก่ ข้าพเจ้าขอใช้คำว่า "ตำนาน" แต่ถ้าหมายถึง การต้านทาน, คุ้มครอง, ป้องกัน, รักษา ซึ่งเป็นความ เดียวกับคำว่า "ปริตต์" ข้าพเจ้าขอใช้คำ "ตำนาณ" ที่แผลงมาจาก "ตาณ" ซึ่งในบางแห่งท่านก็เอา " ปริ" ผสมกับ "ตาณ" เป็นรูปคำว่า "ปริตฺตาณ" ก็มี แต่คำบาลีก็มักใช้เพี้ยน ณ เป็น น ได้เหมือนกัน เช่น ปริตฺตาณํ เป็น ปริตฺตานํ** จึงขอเรียกคัมภีร์พระปริตต์ ตามที่รู้จักกันดีในภาษาไทยว่า "เจ็ดตำ นาณ" และ "สิบสองตำนาณ"
แต่เมื่อนำเอาพระสูตรหรือพระคาถาใดมาทำ ปริตต์ แล้ว ซึ่งเดิมไม่มีคำ ปริตต์ ต่อท้าย หรือต่อท้าย ด้วยคำอื่น ท่านก็เปลี่ยนเรียกเป็นปริตต์ ไปตามความมุ่งหมายด้วย ดังจะเห็นได้จากชื่อที่เรียกไว้ ในคัมภีร์มิลินทปัญหา และในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เช่น - รตนสูตร เป็น รตนปริตต์ ธชัคคสูตร เป็น ธชัคคปริตต์ อาฎานาฏิยสูตร เป็น อาฎานาฏิยปริตต์ ส่วนที่เรียกว่า ปริตต์ อยู่ก่อนแล้ว ก็เรียกไปตามเดิม เช่น ขันธปริตต์ โมรปริตต์ และเมื่อรวบรวมเข้า เป็นคัมภีร์ประปริตต์นั้น พระโบราณาจารย์ท่านได้ประพันธ์บทและคาถาภาษาบาลีเล่าประวัติย่อ และบอกสรรพคุณหรืออานิสงส์โดยสังเขป เรียนกันว่า "บทขัดตำนาณ" หรือ "บทขัดตำนาน" ไว้ใน เบื้องต้นของพระปริตต์บทนั้น ๆ ด้วย เช่น ในสิบสองตำนาณ (เว้นฉัททันตปริตต์ ที่ไม่มีบทขัด) แล้ว ท่านเรียกของท่านว่า "ปริตต์" คือที่ท่านกล่าวเกริ่นว่า "ปริตฺตนฺตมฺภณาม-เห เราทั้งหลายจงสวดพระ ปริตต์นั้นกันเถิด" เกือบทุกบท ที่มิได้บอกไว้ในบทขัดมีอยู่เพียง 2 บท คือ มงคลสูตร และโพช ฌังคปริตต์ แต่บทหลังนี้ก็เรียกว่า โพชฌังค์ ปริตต์ อยู่แล้ว
พึงสังเกตตามพระบาลีที่ปรากฎในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง ท่านแทรกพระปริตต์และบทสวดอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไว้ข้างหน้าและข้างท้ายเจ็ดตำนาณและสิบสองตำนาณ เพราะฉะนั้น ในตอนที่เป็น เจ็ดตำนานจึงเห็นได้ว่าเกินกว่าจำนวน 7 แต่ในสิบสองตำนานท่านจัดไว้ลงจำนวนและบอกไว้ชัด เริ่มตั้งแต่มงคลสูตรเป็นที่ 1 (ปฐมํ มงฺคลสุตฺตํ) เรียงลำดับไปถึงชยปริตต์ เป็นอันดับที่ 12 (ทฺวาทสมํ ชยปริตฺตํ) แม้กระนั้น ท่านยังควบฉัททันตปริตต์เข้าไว้กับขั้นธปริตต์ โดยบอกไว้ว่า "ขนธปริตฺตํ ฉทฺท นฺตปริตฺตาปรํ" คือบอกว่าขันธปริตต์ ซึ่งมีฉัททันตปริตต์ต่อท้ายหมายถึงว่า ท่านนับฉัททันตปริตต์ ควบเป็นอันดับที่ 4 เลขหมายเดียวกับขันธปริตต์ ทำนองเดียวกับในเจ็ดตำนาน ท่านนับองคุลิ มาลปริตต์ควบกับโพชฌังคปริตต์ โดยบอกไว้ว่า "องฺคุลิมาลปริตฺตปุพฺพกํ โพชฌงฺคปริตฺตํ" คือบอกว่าโพชฌังคปริตต์ ซึ่งขึ้นต้นด้วยอังคุลิมาลปริตต์ * ชาตกฎฐกถา ตติยภาค น.196
บรรดา เวทมนตร์ทั้งหลาย ที่นับถือกันว่าเป็นมนต์ขลังและศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา สามารถปัด เป่าบรรดาอุปัทวันตรายภัยพิบัติขจัดภูตผีปิศาจและเหล่าอมนุษย์ที่เลวร้าย ป้องกันสรรพภัยจากโจร จากไฟ ปัดเป่าเสนียดจัญไร และดาวร้าย บาปเคราะห์ ขจัดลางชั่วและฝันร้ายทั้งสรรพสิ่งอวมงคล ตลอดจนเสียงนกที่ก่อความรำคาญไม่พึงใจ นำมาซึ่งความเย็นใจ คลายทุกข์ มีความเกษมสุขสวัสดี มีชัย ประสบสิ่งมิ่งมงคลเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกประการ เวทมนตร์ทั้งหลายนั้นก็คือ พระปริตต์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ที่เรียกกันว่า สัตตปริตต์ และ ทวาทสปริตต์ หรือ เจ็ดตำนานและ สิบสองตำนาน อันเป็นพระพุทธมนต์ที่มีเดชมีอานุภาพแผ่ไปทั่วสากลจักรวาล ดังจะกล่าวต่อ ไปในเรื่องอานุภาพพระปริตต์นี้
กำเนิดพระปริตต์
มีผู้กล่าวว่า พระพุทธศาสนารับเอาแนวความคิดเรื่อง พระปริตต์นี้มาจาก รักษามนต์ ในคัมภีร์ อถรรพเวท (อถรฺเวท) แล้วดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และเรียกชื่อเสีย ใหม่ว่า "ปริตฺตา" แม้กระนั้นในที่บางแห่งก็ยังนำเอาคำว่า "รกฺษ" มาใช้ในรูปคำบาลี "รกฺขา" ควบคู่ กับ "ปริตฺตา" เช่น " กตา เม รกฺขาม กตา เม ปริตฺตา- ข้าพเจ้าได้ทำการป้องกันรักษาแล้ว, ข้าพเจ้าได้ ทำการคุ้มครองป้องกันแล้ว" หรือใช้แทนกัน เช่น อยํ โข สา มาริส อาฏานาฏิยา รกฺขา-ดูก่อนสหายผู้ นิรทุกข์ อาฏานาฏิยารักษานั้นนี้แล" และคงรับเข้ามาเป็นแนวปฏิบัติตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมี กล่าวถึงในคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ว่า พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้นางภิกษุณีเรียนหรือบอกติรัจฉานวิชา ใครเรียนหรือบอกต้องอาบัติ แต่ผู้เรียนและบอกพระปริตต์เพื่อคุ้มครองป้องกันตัว ไม่เป็นอาบัติ** พระปริตต์ที่กล่าวถึงในภิกขุนีวิภังค์นั้น มิได้ระบุไว้ว่าเป็นข้อความอย่างใด แต่มีกล่าวถึงพระภิกษุถูก งูกัดตาย และพระพุทธเจ้าได้ทรงทราบจึงโปรดประทานพระพุทธานุญาติให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยัง ตระกูลพญางู 4 ตระกูล เพื่อเป็นการคุ้มครองรักษาป้องกันตนเอง*** โดยมีคาถาสำหรับสวดเป็น ประปริตต์ไว้ด้วยคือที่เรียกว่า ขันธปริตต์หรืออหิราชปริตต์**** และมีพระสูตรหลายพระสูตรที่พระ พุทธเจ้าทรงใช้เป็นพระปริตต์โดยพระองค์เองบ้าง เช่น รตนปริตต์ และตรัสสอนให้พระภิกษุใช้เป็น พระปริตต์บ้าง เช่น กรณียเมตตปริตต์ อย่างไรก็ดี แม้จะมีเรื่องราวกล่าวถึงพระปริตต์ไว้ในคัมภีร์ ต่าง ๆ แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าในครั้งพุทธกาลได้มีผู้รวบรวมพระปริตต์เป็นหมวดหมู่ หลักฐานเก่าแก่ ที่พูดถึงพระปริตต์ต่าง ๆ ในสมัยต่อมาก็คือ คัมภีร์บาลีมิลินทปัญหา ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ 5 ได้ระบุถึงพระปริตต์ไว้ 5 หรือ 6 ปริตต์ คือ ใน มิลินทปัญหา* ระบุถึงไว้ 5 ปริตต์ คือ * Sacred Books of the Buddishts, Dialogues of the Buddha, part III: pp.170, 186 * ฉบับพิมพ์อักษรไทย ของ มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า 206
ขันธปริตต์ 1 สุวัตถิปริต์ 1 (ในที่นี้เรียกรัตนปริตต์ว่า สุวัตถิปริตต์) โมรฺปริตต์ 1 ธชัคคปริตต์ 1อาฏานาฏิยปริตต์ 1 แต่ใน มิลินทปัญโห (The Milindapanho)** ระบุไว้ 6 ปริตต์ คือ รตนสูตร 1 ขันธปริตต์ 1 โมรปริตต์ 1 ธชัคคปริต์ 1 อาฏานาฏิยปริตต์ 1 องคุลิมาลปริตต์ 1 ต่อมาอีกราว 500 ปี คือ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านพระพุทธโฆสเถระ ได้แต่งพระคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ เมื่อกล่าวถึง อานุภาพของพระปริตต์ก็ได้ระบุถึงประปริตต์ไว้เพียง 5 ปริตต์ คือ รนตปริตต์ 1 ขันธปริตต์ 1 ธชัคค ปริต์ 1 อาฏานาฏิยปริตต์ 1 โมรปริตต์ 1*** แต่ในปฐมสมันตปาสาทิกา ระบุไว้ 6 ปริตต์ คือ รตน ปริตต์, เมตตปริตต์, ขันธปริตต์, ธชคคปริตต์, อาฏานาฏิยปริตต์ และ โมรปริตต์****
มีเรื่องกล่าวท้าวความถึงคัมภีร์พระปริตต์ ไว้ในประวัติของท่านพุทธโฆส (พุทฺธโฆสุปฺหตฺติ) ว่า ก่อน ที่ท่านพุทธโฆสจะมาลังกาทวีปนั้น ท่านกำลังริเริ่มจะเขียนอรรถกถาปริตตาสูตรอยู่แล้ว ก็พอดี อาจารย์ของท่านคือท่านมหาสถวีระเรวัติได้แนะนำให้ท่านเดินทางมายังลังกาทวีป เพื่อแปลคัมภีร์ อรรถกถาต่าง ๆ จากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษามคธ ท่านพระพุทธโฆสได้เดินทางมาทวีปลังกา ใน รัชสมัยของพระเจ้ามหานาม เป็นกษัตริย์ทรงครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ. 953 ถึง พ.ศ. 975 เมื่ออยู่ในลังกานั้น ท่านพุทธโฆสพำนักอยู่ในมหาวิหารในกรุงอนุราธปุระ และเมื่อท่านแสดงความ จำนงจะแปลอรรถกถาภาษาสิงหลออกเป็นภาษามคธต่อพระสังฆเถระ และขออนุญาตตรวจค้น พระคัมภีร์ต่าง ๆ นั้น ท่านพระสังฆเถระก็ได้ทดลองภูมิปัญญาของท่านโดยมอบคาถาหนึ่ง จาสัง ยุตตนิกาย สคาวัคค์ ให้แต่งอธิบายขยายความ คือ คาถาว่า :- สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํอาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฎํ*
พระภิกษุผู้เป็นนรชนมีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้วทำสมาธิ วิปัสสนาให้เกิดขึ้นมีความพากเพียรไตร่ตรองไป พึงสะสางซึ่งสิ่งเป็นรกชัฎ ในจิตนี้ให้หายรกได้
ท่าน พุทธโฆสจึงใช้คาถานี้เป็นหัวข้อแต่งคัมภรีวิสุทธิมัคค์ขึ้นและมีระบุชื่อพระปริตต์ 5 ปริตต์ดัง กล่าวข้างต้น จึงอาจพิจารณาได้เป็น 2 กระแสความ กระแสความหนึ่งแสดงว่า ในสมัยของท่าน พุทธโฆส เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 นั้น มีคัมภีร์พระปริตต์อยู่แล้ว อีกกระแสความหนึ่งแสดงว่าคัมภีร์ พระปริตต์ที่รู้จักกันในสมัยนั้นมีอยู่ราว 5 หรือ 6 ปริตต์เท่านั้น ดังระบุชื่อมาข้างต้นซึ่งท่านพุทธโฆสเคยริเริ่มจะเขียนอรรถกถาอธิบายความอยู่แล้ว ** The Milindapanho, ฉบับพิมพ์อักษรโรมันของ Pali Text Society, pp. 150-151 และดู The Milinda's Question, Vok.I,p.211 ด้วย.*** วิสุทฺธิมคฺค, ทุติยภาค, น. 255****สมนฺตปาสาทิกา ปฐมภาค, น. 178 * ดูหนังสือ- ท่านผู้สร้างคัมภีร์พระพุทธศาสนาในภาษาบาลี ของผู้เรียบเรียง หน้า 18-20
แต่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกา) ซึ่งท่านผู้รู้นำมากล่าวอ้างและเล่าอ้างและเล่า เป็นประวัติไว้ว่าในรัชสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 ทรงครองราชสมบัติในประเทศลังกา (ระหว่าง พ.ศ.911-953) ก่อนรัชกาลของพระเจ้ามหานามผู้เป็นพระอนุชาธิราช ได้เกิดทุพภิกขภัยและโรค ระบาดขึ้นในประเทศลังกา พระเจ้าอุปติสสะจึงตรัสปรึกษาพระภิกษุสงฆ์ถึงอุบายที่จะขจัดปัดเป่า ภัยเหล่านั้น มิให้ประชาชนต้องรับทุกข์มาก พระภิกษุสงฆ์จึงทูลเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จนครเวสาลี และตรัสรตนสูตรขจัดภัย 3 ประการให้สิ้นไปในครั้งพุทธกาล ให้ทรงทราบ* พระเจ้าอุปติสสะจึง โปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองคำเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร แล้วโปรดให้นำบาตรศิลาใส่น้ำวางใน พระหัตถ์ (บาตรศิลานี้ทางลังกาอ้างว่าเป็นบาตรของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหินทรเถระได้นำมาแต่ ชมพูทวีป) แล้วนำพระพุทธรูปทองคำขึ้นประดิษฐานบนราชรถ พระมหากษัตริย์ไปรดให้ตกแต่ง ประดับประดาพระนครอย่างงดงาม แล้วพระองค์เองทรงสมาทานศีลด้วย แล้วโปรดให้นำราชรถ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำอุ้มบาตรน้ำพระพุทธมนต์แห่ไปตามถนนในพระนครพร้อมกับนิมนต์ พระภิกษุสงฆ์ใหญ่เดินตามราชรถ สวด รตนสูตร และประพรมน้ำ (พระพุทธมนต์) ไปด้วย พระ มหากษัตริย์เองก็ทรงเข้าร่วมไปในพิธีนี้ และเสด็จพระราชดำเนินไปกับภิกษุสงฆ์ด้วย ฝนห่าใหญ่ก็ เทลงมา ทุพภิกขภัยและโรคระบาดก็หายไป พระเจ้าอุปติสสะจึงโปรดให้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ไว้ว่า แต่นี้ต่อไป หากเกิดภัยเช่นนี้ขึ้นในเกาะลังกาอีก ขอให้ทำพิธีปัดเป่าเช่นเดียวกับที่พระองค์ โปรดให้ทำขึ้นในครั้งนี้ และโปรดให้เรียกพิธีนี้ว่า "คังคาโรหนะ" ไม่ต้องสงสัย ชื่อนี้ต้องหมายถึงพิธี เลียนแบบเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา คราวที่เสด็จไปและกลับจากเมืองเวสาลีใน ครั้งพุทธกาล ไม่ทราบกันว่าพระมหากษัตริย์ของลังกาพระองค์ใดบ้าง ได้ทราบดำเนินตามพระราชจริยาวัตรของ พระเจ้าอุปติสสะ แต่มีกล่าวถึงพระเจ้าเสนะที่ 2 (ซึ่งทรงครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ.1394- 1428) เมื่อเกาะลังกาเกิดโรคระบาดขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ก็ได้ทรงทำพิธีคล้ายกับพระเจ้าอุ ปติสสะที่ 1 แต่ในพิธีนั้น แทนที่จะใช้พระพุทธรูปอย่างในรัชกาลพระเจ้าอุปติสสะ พระเจ้าเสนะที่ 2 โปรดให้เชิญรูปพระอานนทเถระไปตามถนนในพระนคร แล้วนิมนต์พระภิกษุสงฆ์เดินตามสวด พระปริตต์และประพรม ปริตตาปาน (น้ำพระปริตต์)* ไปด้วยการที่พระเจ้าเสนะที่ 2 นำเอารูป พระอานนทเถระมาใช้ในพิธีนี้ นับว่าเข้ากับเรื่องราวการระงับภัย 3 ประการในเมืองเวสาลี ครั้ง พุทธกาลอยู่เหมือนกัน เพราะในครั้งนั้น พระอานนทเถระเป็นผู้อัญเชิญบาตรน้ำมนต์พระพุทธเจ้า เดินสวด รตนสูตร และประพรมน้ำจากบาตรไปตามถนนหนทางในเมืองเวสาลี ถือได้ว่าพระเจ้า เสนะที่ 2 ทรงดำเนินตามแบบอย่างของพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 แต่มีรายละเอียดแตกต่างออกไป ทั้ง กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเสนะที่ 2 ได้โปรดให้จารึกรตนสูตรลงไว้ในแผ่นทองคำด้วย ต่อมาพระเจ้ากัสสป ที่ 5 (ครองราชย์ในลังการะหว่าง พ.ศ. 1456-1466) ได้ทรงร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ 3 นิกาย สวดพระ ปริตต์ขจัดปัดเป่าทุพภิกขภัยและโรคระบาดในพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่จะได้ทรงดำเนินตามแบบ อย่างที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ เข้าใจว่าอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาล เวลา แต่มีกล่าวย้อนหลังไปถึงเมื่อครั้งรัชกาลของพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 (พ.ศ. 1201-1217) ว่าได้มี พิธีทางพระปริตต์เหมือนกัน แต่มิได้ * ดู รตนปริตต์ ใน ทวาทสปริตต์ หรือ สิบสองตำนาน * ไทยเราเรียกว่า "ปริตโตทก" แปลว่า "น้ำพระปริตรม น้ำพระพุทธมนต์" ดู- พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน
บอกถึงเหตุการณ์และให้รายละเอียด ต่อมาเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ได้มีพิธี คังคาโรหณะ ขึ้นที่เมืองมาตระในลังกาภาคใต้ ซึ่งท่านโทมัส มุหันทิรมะได้เขียนกลอนเป็นภาษาสิงหฬ ชื่อ คังคาโรหณะวัณณนา บรรยายไว้โดยพิสดาร*
ตามข้อความที่กล่าวมาข้างต้น ท่านคงจะสังเกตได้ว่าเมื่อท่านพุทธโฆสเดินทางมายังเกาะลังกานั้น เป็นรัชสมัยของพระเจ้ามหานามเป็นพระมหากษัตริย์ครองประเทศ ซึ่งเป็นรัชกาลต่อจากพระเจ้าอุ ปติสสะที่ 1 ในระยะที่ท่านพุทธโฆสมาอยู่ในลังกานั้น ข่าวคราวเกี่ยวกับที่พระเจ้าอุปติสสะ โปรดให้ทำพิธี คังคาโรหณะ อาจยังเล่าลือกันอยู่หรืออาจมีพระภิกษุสงฆ์และประชาชนชาวลังกา พูดถึงและเล่าให้ท่านฟังด้วยซ้ำ แต่พระสูตรที่ใช้สวดในพิธีคังคาโรหณะก็ระบุถึงไว้แต่ประ ปริตต์เดียว คือ รนตสูตร ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ที่ท่านพุทธโฆสแต่ ท่านได้ระบุไว้ถึง 5 พระปริตต์ อาจระบุตามที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์มิลินทปัญหาก็ได้ เพราะปรากฎตามคัมภีร์มิลินทปัญหาระบุชื่อไว้ เพียง 5 หรือ 6 ปริตต์ ไม่ปรากฎระบุไว้หรือมีเกินกว่านั้น บางท่านจึงคาดคะเนว่าคงจะมีผู้นำเอา มงคลสูตร** และกรณียเมตตสูตร มาใช้สวดพระปริตต์ด้วย อย่างไรก็ดี พิธีสวดพระปริตต์ตามเรื่อง ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ข้างต้นแสดงว่า ทำกันในบางรัชกาลของพระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศลังกา เช่นในรัชกาลพระเจ้ากัสสปที่ 5 และย้อนหลังกลับไปถึงรัชกาลพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 ก็มีพิธีสวดพระ ปริตต์ จึงอาจเป็นว่าพระเถระในชมพูทวีปและตลอดมาจนพระเถระชาวลังกาอาจเลือกคัดพระสูตร พระคาถา และพุทธวจนต่าง ๆ มารวมขึ้นไว้ โดยมุ่งหมายใช้สำหรับบริกรรมหรือพร่ำบ่นภาวนา อย่างเดียวกับมนต์ต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองป้องกันรักษาตัว เช่นที่ทรงประทานพระพุทธานุญาตไว้ใน วินัยปิฎกดังกล่าวมาข้างต้น จึงเรียกว่า "ปริตตะ" ซึ่งมีความหมายว่าความคุ้มครองป้องกัน
การเลือกคัดพระพุทธวจนะในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกมารวมเข้าเป้นคัมภีร์พระปริตต์สำหรับสวด หรือพร่ำบ่นภาวนานั้น คงจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบย่อและแบบพิสดาร แบบย่อเรียกว่า "ปริตต์" และ แบบพิสดารเรียกว่า "มหาปริตต์"* หรือเรียกตามจำนวนของพระปริตต์ว่า "สัตตปริตต์ (เจ็ดตำนาน)" แบบหนึ่งและ ทวาทสปริตต์ (สิบสองตำนาน)" แบบหนึ่ง ต่อมาในกาลใดกาลหนึ่งพระมาห กษัตริย์ในทวีปลังกา เช่นที่มีพระนามระบุถึงมาข้างต้น ได้โปรดให้ใช้พระปริตต์นั้นเป็นแบบฉบับ สำหรับสวดในพระราชพิธี จึงเรียกแบบสัตตปริตต์ว่า "จุลราชปริตต์" และเรียกแบบทวาทสปริตต์ว่า " มหาราชปริตต์" คัมภีร์พระปริตต์ดังกล่าวนี้ ชาวลังกาเขาเรียกและรู้จักกันในภาษาสิงหลว่า "ปิริต- โปตะ" และอาจเป็นว่าในสมัยต่อมาพระเถระชาวลังกาคงจะได้เลือกคัดพระสูตรและพระพุทธวจนะ อื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก สำหรับสวดเป็นครั้งเป็นคราว ครั้นเลือกคัดมารวมไว้มากเข้าก็จำต้องแบ่ง ธรรมประเภทออกส่วนกำหนดเป็นตอน ๆ เรียกว่า "ภาณวาร" มี 4 ภาณวาร เรียกรวมว่า "จตุภาณ วาร" จตุภาณวารในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงของเรามีธรรมประเภท 22 ภาค แต่ของลังกาดู เหมือนจะมีจำนวนมากกว่า ซึ่งลังกาอาจเพิ่มเติมขึ้นอีกในภายหลังก็ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ * History of Buddhism in Ceylon by Walpola Rahula, pp.276-278 * The Pali Literature of Ceylon by G.P. Malalasekera, pp.75-6.* An Introduction to Pali Literature by Dr.S.C. Banerji, p.94จึงไม่อาจทราบกันว่าใครเป็นผู้ราบรวมคัมภีร์จตุภาณวาร ? และรวบรวมขึ้นแต่เมื่อใด ? เพราะคง จะรวบรวมขึ้นหลายครั้งหลายคราวตามแต่เหตุการณ์โดยพระเถระต่างสมัย เมื่อมีคัมภีร์จตุภาณ วารขึ้นแล้ว การสวดราชปริตต์ในลังกาทวีปก็เลิกไป แม้ฉบับก็สูญจนพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงหาได้ฉบับจากเมืองยะไข่ไปประทานจึงกลับมีขึ้น การสวดมนต์ของพระลังกาสวดพระสูตรและ คาถาต่าง ๆ ตามสะดวก แต่การสวดภาณวารในลังกายังนับถือกันมาก* ดูเหมือนชาวลังกาจะรู้จัก และเรียกคัมภีร์จตุภาณวารรวม ๆ กันไปว่า "ปิริต-โปตะ" ด้วย
คัมภีร์จตุภาณวารนี้ต่อมาท่านอานันทวันรัตนเถระชาวลังกาได้สั่งให้ศิษย์ (มิได้ระบุชื่อไว้) ของท่าน เขียนอรรถกถาหรือ จตุภาณวารฏฺฐกถา ขึ้น เรียกชื่อว่า สารัตถสมุจจัย แต่ในปณามคาถาของสา รัตถสมุจจัยกล่าวระบุไว้ว่า ท่านผู้แต่งคัมภีร์สารัตถสมุจจัย คือ พระเถระมีนามว่า อโนมทัสสี** ผู้ เป็นสังฆราช สถิต ณ นครโปโลนนรุวะ ซึ่งเป็นราชธานีของประเทศลังกาในสมัยหนึ่ง และว่าแต่งขึ้น ในรัชกาลประเจ้าปรักกมพาหุ** ซึ่งยกย่องเป็นมหาราชาองค์หนึ่งของลังกา ทรงครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1696-1729 สันนิษฐานว่าไทยคงจะได้ฉบับคัมภีร์สารัตถสมุจจัยเข้ามาในประเทศ ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แปลเป็นภาษาไทยขึ้นครบบริบูรณ์ในรัชกาลที่ 3 กรุงรัตน โกสินทร์และหอพระสมุดวชริญาณ ได้จัดทะยอยให้ท่านผู้มีศรัทธาพิมพ์ออกเป็นเล่มครั้งละพระ ปริตต์จนครบบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2460 ส่วนคัมภีร์พระปริตต์หรือเจ็ดตำนานและสิบสองตำนานนั้น ไทยเราคงจะได้รับมาพร้อมกับรับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะเมื่อรับพระพุทธศาสนาแบบหินยาน และลัทธิลังกาวงศ์
ความมุ่งหมายของพระปริตต์
เมื่อประโบราณาจารย์ได้เลือกคัดจัดสรรพระสูตร พระคาถา และพระพุทธวจนะ โดยมากจากคัมภีร์ ขุททกนิกายในพระสุตตันตปิฎกมารวมขึ้นแล้วเรียกรวมเป็นคัมภีร์ปริตต์ เช่นที่ลังกาเรียกว่า "ปิริต-โป ตะ" นั้น เห็นได้ว่าเพี้ยนคำจาก "ปริตตโปฏกะ" ไปตามสำเนียงพื้นเมือง คำว่า "ปริตฺต" ก็มาจาก " ปริ" อุปสรรคกับ "ตา" หรือ "ตฺรา" ธาตุ แปลว่า คุ้มครอง, ป้องกัน, รักษา ผสมกันเป็นรูปศัพท์บาลีว่า "ปริตฺต" หรือ "ปริตฺตา" แปลว่า การคุ้มครองรักษา หรือความคุ้มครองรักษาหรือความคุ้มครองป้อง กัน หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน ก็ได้ เป็นคนละความกับ ปริตตะ อีกคำหนึ่ง ซึ่งแปลว่านิดหน่อย เล็กน้อย นอกจากคำว่า "รักขา" ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีคำที่ใช้คู่กันกับ "ปริตต์ อีกคำหนึ่งคือ " ตาณ" แปลว่าการป้องกัน, การต้านทาน แล้วโบราณแผลงเป็นคำศัพท์ว่า "ตำนาน" หรือ "ดำนาณ" และให้คำแปลว่าเครื่องห้าม เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง ที่อาศัย* แต่เรามาใช้เขียนกัน เพี้ยนไปเป็น เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน (คือเปลี่ยน ณ เป็น น) * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในตำนานพระปริตร และพระนิพนธ์คำ นำในสารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวารแปล * สารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวาร แก้บทคำนมัสการแลสรณคมน์ * พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เลยมีความหมายแปลไปว่าเรื่องราวเก่าแก่ ไม่ตรงกับความหมายเดิม เพราะฉะนั้นในที่นี้ถ้าหมาย ถึงเรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลังหรือเรื่องราวนมนานที่ต่อปากกันมา หรือเรื่องราวเก่าแก่ ข้าพเจ้าขอใช้คำว่า "ตำนาน" แต่ถ้าหมายถึง การต้านทาน, คุ้มครอง, ป้องกัน, รักษา ซึ่งเป็นความ เดียวกับคำว่า "ปริตต์" ข้าพเจ้าขอใช้คำ "ตำนาณ" ที่แผลงมาจาก "ตาณ" ซึ่งในบางแห่งท่านก็เอา " ปริ" ผสมกับ "ตาณ" เป็นรูปคำว่า "ปริตฺตาณ" ก็มี แต่คำบาลีก็มักใช้เพี้ยน ณ เป็น น ได้เหมือนกัน เช่น ปริตฺตาณํ เป็น ปริตฺตานํ** จึงขอเรียกคัมภีร์พระปริตต์ ตามที่รู้จักกันดีในภาษาไทยว่า "เจ็ดตำ นาณ" และ "สิบสองตำนาณ"
แต่เมื่อนำเอาพระสูตรหรือพระคาถาใดมาทำ ปริตต์ แล้ว ซึ่งเดิมไม่มีคำ ปริตต์ ต่อท้าย หรือต่อท้าย ด้วยคำอื่น ท่านก็เปลี่ยนเรียกเป็นปริตต์ ไปตามความมุ่งหมายด้วย ดังจะเห็นได้จากชื่อที่เรียกไว้ ในคัมภีร์มิลินทปัญหา และในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เช่น - รตนสูตร เป็น รตนปริตต์ ธชัคคสูตร เป็น ธชัคคปริตต์ อาฎานาฏิยสูตร เป็น อาฎานาฏิยปริตต์ ส่วนที่เรียกว่า ปริตต์ อยู่ก่อนแล้ว ก็เรียกไปตามเดิม เช่น ขันธปริตต์ โมรปริตต์ และเมื่อรวบรวมเข้า เป็นคัมภีร์ประปริตต์นั้น พระโบราณาจารย์ท่านได้ประพันธ์บทและคาถาภาษาบาลีเล่าประวัติย่อ และบอกสรรพคุณหรืออานิสงส์โดยสังเขป เรียนกันว่า "บทขัดตำนาณ" หรือ "บทขัดตำนาน" ไว้ใน เบื้องต้นของพระปริตต์บทนั้น ๆ ด้วย เช่น ในสิบสองตำนาณ (เว้นฉัททันตปริตต์ ที่ไม่มีบทขัด) แล้ว ท่านเรียกของท่านว่า "ปริตต์" คือที่ท่านกล่าวเกริ่นว่า "ปริตฺตนฺตมฺภณาม-เห เราทั้งหลายจงสวดพระ ปริตต์นั้นกันเถิด" เกือบทุกบท ที่มิได้บอกไว้ในบทขัดมีอยู่เพียง 2 บท คือ มงคลสูตร และโพช ฌังคปริตต์ แต่บทหลังนี้ก็เรียกว่า โพชฌังค์ ปริตต์ อยู่แล้ว
พึงสังเกตตามพระบาลีที่ปรากฎในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง ท่านแทรกพระปริตต์และบทสวดอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไว้ข้างหน้าและข้างท้ายเจ็ดตำนาณและสิบสองตำนาณ เพราะฉะนั้น ในตอนที่เป็น เจ็ดตำนานจึงเห็นได้ว่าเกินกว่าจำนวน 7 แต่ในสิบสองตำนานท่านจัดไว้ลงจำนวนและบอกไว้ชัด เริ่มตั้งแต่มงคลสูตรเป็นที่ 1 (ปฐมํ มงฺคลสุตฺตํ) เรียงลำดับไปถึงชยปริตต์ เป็นอันดับที่ 12 (ทฺวาทสมํ ชยปริตฺตํ) แม้กระนั้น ท่านยังควบฉัททันตปริตต์เข้าไว้กับขั้นธปริตต์ โดยบอกไว้ว่า "ขนธปริตฺตํ ฉทฺท นฺตปริตฺตาปรํ" คือบอกว่าขันธปริตต์ ซึ่งมีฉัททันตปริตต์ต่อท้ายหมายถึงว่า ท่านนับฉัททันตปริตต์ ควบเป็นอันดับที่ 4 เลขหมายเดียวกับขันธปริตต์ ทำนองเดียวกับในเจ็ดตำนาน ท่านนับองคุลิ มาลปริตต์ควบกับโพชฌังคปริตต์ โดยบอกไว้ว่า "องฺคุลิมาลปริตฺตปุพฺพกํ โพชฌงฺคปริตฺตํ" คือบอกว่าโพชฌังคปริตต์ ซึ่งขึ้นต้นด้วยอังคุลิมาลปริตต์ * ชาตกฎฐกถา ตติยภาค น.196
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550
สวัสดีสมาชิกพี่น้องวรารมย์เทพารักษ์ทุกท่าน
เนื่องด้วยความเงียบปกคลุมกลุ่มก้อนสมาชิกมานาน จึงอยากเชิญชวนมาระบายความคิดด้วยสีสรรทิวธงต่างๆ เพื่อให้เกิดภาพธรรมชาติอันวิจิตรจินดา
ด้วยวาระดิถีปีใหม่ ๒๕๕๑ กำลังคืบเข้ามา พี่น้องคงมีหลายเรื่องที่เก็บไว้ไม่รู้จะบอกใคร
เชิญครับเวทีนี้เราให้คุณเต็มที่
กรรมการเก่า/คณะทำงานฯ/พ่อน้องปอ
แล้วแต่จะเรียกครับแต่ผมชื่อ
เฉลิมเกียรติ ก้อนทองคำ
:-)5/369
ด้วยวาระดิถีปีใหม่ ๒๕๕๑ กำลังคืบเข้ามา พี่น้องคงมีหลายเรื่องที่เก็บไว้ไม่รู้จะบอกใคร
เชิญครับเวทีนี้เราให้คุณเต็มที่
กรรมการเก่า/คณะทำงานฯ/พ่อน้องปอ
แล้วแต่จะเรียกครับแต่ผมชื่อ
เฉลิมเกียรติ ก้อนทองคำ
:-)5/369
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)