เริ่มเรื่องพระปริตต์
บรรดา เวทมนตร์ทั้งหลาย ที่นับถือกันว่าเป็นมนต์ขลังและศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา สามารถปัด เป่าบรรดาอุปัทวันตรายภัยพิบัติขจัดภูตผีปิศาจและเหล่าอมนุษย์ที่เลวร้าย ป้องกันสรรพภัยจากโจร จากไฟ ปัดเป่าเสนียดจัญไร และดาวร้าย บาปเคราะห์ ขจัดลางชั่วและฝันร้ายทั้งสรรพสิ่งอวมงคล ตลอดจนเสียงนกที่ก่อความรำคาญไม่พึงใจ นำมาซึ่งความเย็นใจ คลายทุกข์ มีความเกษมสุขสวัสดี มีชัย ประสบสิ่งมิ่งมงคลเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกประการ เวทมนตร์ทั้งหลายนั้นก็คือ พระปริตต์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ที่เรียกกันว่า สัตตปริตต์ และ ทวาทสปริตต์ หรือ เจ็ดตำนานและ สิบสองตำนาน อันเป็นพระพุทธมนต์ที่มีเดชมีอานุภาพแผ่ไปทั่วสากลจักรวาล ดังจะกล่าวต่อ ไปในเรื่องอานุภาพพระปริตต์นี้
กำเนิดพระปริตต์
มีผู้กล่าวว่า พระพุทธศาสนารับเอาแนวความคิดเรื่อง พระปริตต์นี้มาจาก รักษามนต์ ในคัมภีร์ อถรรพเวท (อถรฺเวท) แล้วดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และเรียกชื่อเสีย ใหม่ว่า "ปริตฺตา" แม้กระนั้นในที่บางแห่งก็ยังนำเอาคำว่า "รกฺษ" มาใช้ในรูปคำบาลี "รกฺขา" ควบคู่ กับ "ปริตฺตา" เช่น " กตา เม รกฺขาม กตา เม ปริตฺตา- ข้าพเจ้าได้ทำการป้องกันรักษาแล้ว, ข้าพเจ้าได้ ทำการคุ้มครองป้องกันแล้ว" หรือใช้แทนกัน เช่น อยํ โข สา มาริส อาฏานาฏิยา รกฺขา-ดูก่อนสหายผู้ นิรทุกข์ อาฏานาฏิยารักษานั้นนี้แล" และคงรับเข้ามาเป็นแนวปฏิบัติตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมี กล่าวถึงในคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ว่า พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้นางภิกษุณีเรียนหรือบอกติรัจฉานวิชา ใครเรียนหรือบอกต้องอาบัติ แต่ผู้เรียนและบอกพระปริตต์เพื่อคุ้มครองป้องกันตัว ไม่เป็นอาบัติ** พระปริตต์ที่กล่าวถึงในภิกขุนีวิภังค์นั้น มิได้ระบุไว้ว่าเป็นข้อความอย่างใด แต่มีกล่าวถึงพระภิกษุถูก งูกัดตาย และพระพุทธเจ้าได้ทรงทราบจึงโปรดประทานพระพุทธานุญาติให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยัง ตระกูลพญางู 4 ตระกูล เพื่อเป็นการคุ้มครองรักษาป้องกันตนเอง*** โดยมีคาถาสำหรับสวดเป็น ประปริตต์ไว้ด้วยคือที่เรียกว่า ขันธปริตต์หรืออหิราชปริตต์**** และมีพระสูตรหลายพระสูตรที่พระ พุทธเจ้าทรงใช้เป็นพระปริตต์โดยพระองค์เองบ้าง เช่น รตนปริตต์ และตรัสสอนให้พระภิกษุใช้เป็น พระปริตต์บ้าง เช่น กรณียเมตตปริตต์ อย่างไรก็ดี แม้จะมีเรื่องราวกล่าวถึงพระปริตต์ไว้ในคัมภีร์ ต่าง ๆ แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าในครั้งพุทธกาลได้มีผู้รวบรวมพระปริตต์เป็นหมวดหมู่ หลักฐานเก่าแก่ ที่พูดถึงพระปริตต์ต่าง ๆ ในสมัยต่อมาก็คือ คัมภีร์บาลีมิลินทปัญหา ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ 5 ได้ระบุถึงพระปริตต์ไว้ 5 หรือ 6 ปริตต์ คือ ใน มิลินทปัญหา* ระบุถึงไว้ 5 ปริตต์ คือ * Sacred Books of the Buddishts, Dialogues of the Buddha, part III: pp.170, 186 * ฉบับพิมพ์อักษรไทย ของ มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า 206
ขันธปริตต์ 1 สุวัตถิปริต์ 1 (ในที่นี้เรียกรัตนปริตต์ว่า สุวัตถิปริตต์) โมรฺปริตต์ 1 ธชัคคปริตต์ 1อาฏานาฏิยปริตต์ 1 แต่ใน มิลินทปัญโห (The Milindapanho)** ระบุไว้ 6 ปริตต์ คือ รตนสูตร 1 ขันธปริตต์ 1 โมรปริตต์ 1 ธชัคคปริต์ 1 อาฏานาฏิยปริตต์ 1 องคุลิมาลปริตต์ 1 ต่อมาอีกราว 500 ปี คือ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านพระพุทธโฆสเถระ ได้แต่งพระคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ เมื่อกล่าวถึง อานุภาพของพระปริตต์ก็ได้ระบุถึงประปริตต์ไว้เพียง 5 ปริตต์ คือ รนตปริตต์ 1 ขันธปริตต์ 1 ธชัคค ปริต์ 1 อาฏานาฏิยปริตต์ 1 โมรปริตต์ 1*** แต่ในปฐมสมันตปาสาทิกา ระบุไว้ 6 ปริตต์ คือ รตน ปริตต์, เมตตปริตต์, ขันธปริตต์, ธชคคปริตต์, อาฏานาฏิยปริตต์ และ โมรปริตต์****
มีเรื่องกล่าวท้าวความถึงคัมภีร์พระปริตต์ ไว้ในประวัติของท่านพุทธโฆส (พุทฺธโฆสุปฺหตฺติ) ว่า ก่อน ที่ท่านพุทธโฆสจะมาลังกาทวีปนั้น ท่านกำลังริเริ่มจะเขียนอรรถกถาปริตตาสูตรอยู่แล้ว ก็พอดี อาจารย์ของท่านคือท่านมหาสถวีระเรวัติได้แนะนำให้ท่านเดินทางมายังลังกาทวีป เพื่อแปลคัมภีร์ อรรถกถาต่าง ๆ จากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษามคธ ท่านพระพุทธโฆสได้เดินทางมาทวีปลังกา ใน รัชสมัยของพระเจ้ามหานาม เป็นกษัตริย์ทรงครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ. 953 ถึง พ.ศ. 975 เมื่ออยู่ในลังกานั้น ท่านพุทธโฆสพำนักอยู่ในมหาวิหารในกรุงอนุราธปุระ และเมื่อท่านแสดงความ จำนงจะแปลอรรถกถาภาษาสิงหลออกเป็นภาษามคธต่อพระสังฆเถระ และขออนุญาตตรวจค้น พระคัมภีร์ต่าง ๆ นั้น ท่านพระสังฆเถระก็ได้ทดลองภูมิปัญญาของท่านโดยมอบคาถาหนึ่ง จาสัง ยุตตนิกาย สคาวัคค์ ให้แต่งอธิบายขยายความ คือ คาถาว่า :- สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํอาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฎํ*
พระภิกษุผู้เป็นนรชนมีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้วทำสมาธิ วิปัสสนาให้เกิดขึ้นมีความพากเพียรไตร่ตรองไป พึงสะสางซึ่งสิ่งเป็นรกชัฎ ในจิตนี้ให้หายรกได้
ท่าน พุทธโฆสจึงใช้คาถานี้เป็นหัวข้อแต่งคัมภรีวิสุทธิมัคค์ขึ้นและมีระบุชื่อพระปริตต์ 5 ปริตต์ดัง กล่าวข้างต้น จึงอาจพิจารณาได้เป็น 2 กระแสความ กระแสความหนึ่งแสดงว่า ในสมัยของท่าน พุทธโฆส เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 นั้น มีคัมภีร์พระปริตต์อยู่แล้ว อีกกระแสความหนึ่งแสดงว่าคัมภีร์ พระปริตต์ที่รู้จักกันในสมัยนั้นมีอยู่ราว 5 หรือ 6 ปริตต์เท่านั้น ดังระบุชื่อมาข้างต้นซึ่งท่านพุทธโฆสเคยริเริ่มจะเขียนอรรถกถาอธิบายความอยู่แล้ว ** The Milindapanho, ฉบับพิมพ์อักษรโรมันของ Pali Text Society, pp. 150-151 และดู The Milinda's Question, Vok.I,p.211 ด้วย.*** วิสุทฺธิมคฺค, ทุติยภาค, น. 255****สมนฺตปาสาทิกา ปฐมภาค, น. 178 * ดูหนังสือ- ท่านผู้สร้างคัมภีร์พระพุทธศาสนาในภาษาบาลี ของผู้เรียบเรียง หน้า 18-20
แต่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกา) ซึ่งท่านผู้รู้นำมากล่าวอ้างและเล่าอ้างและเล่า เป็นประวัติไว้ว่าในรัชสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 ทรงครองราชสมบัติในประเทศลังกา (ระหว่าง พ.ศ.911-953) ก่อนรัชกาลของพระเจ้ามหานามผู้เป็นพระอนุชาธิราช ได้เกิดทุพภิกขภัยและโรค ระบาดขึ้นในประเทศลังกา พระเจ้าอุปติสสะจึงตรัสปรึกษาพระภิกษุสงฆ์ถึงอุบายที่จะขจัดปัดเป่า ภัยเหล่านั้น มิให้ประชาชนต้องรับทุกข์มาก พระภิกษุสงฆ์จึงทูลเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จนครเวสาลี และตรัสรตนสูตรขจัดภัย 3 ประการให้สิ้นไปในครั้งพุทธกาล ให้ทรงทราบ* พระเจ้าอุปติสสะจึง โปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองคำเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร แล้วโปรดให้นำบาตรศิลาใส่น้ำวางใน พระหัตถ์ (บาตรศิลานี้ทางลังกาอ้างว่าเป็นบาตรของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหินทรเถระได้นำมาแต่ ชมพูทวีป) แล้วนำพระพุทธรูปทองคำขึ้นประดิษฐานบนราชรถ พระมหากษัตริย์ไปรดให้ตกแต่ง ประดับประดาพระนครอย่างงดงาม แล้วพระองค์เองทรงสมาทานศีลด้วย แล้วโปรดให้นำราชรถ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำอุ้มบาตรน้ำพระพุทธมนต์แห่ไปตามถนนในพระนครพร้อมกับนิมนต์ พระภิกษุสงฆ์ใหญ่เดินตามราชรถ สวด รตนสูตร และประพรมน้ำ (พระพุทธมนต์) ไปด้วย พระ มหากษัตริย์เองก็ทรงเข้าร่วมไปในพิธีนี้ และเสด็จพระราชดำเนินไปกับภิกษุสงฆ์ด้วย ฝนห่าใหญ่ก็ เทลงมา ทุพภิกขภัยและโรคระบาดก็หายไป พระเจ้าอุปติสสะจึงโปรดให้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ไว้ว่า แต่นี้ต่อไป หากเกิดภัยเช่นนี้ขึ้นในเกาะลังกาอีก ขอให้ทำพิธีปัดเป่าเช่นเดียวกับที่พระองค์ โปรดให้ทำขึ้นในครั้งนี้ และโปรดให้เรียกพิธีนี้ว่า "คังคาโรหนะ" ไม่ต้องสงสัย ชื่อนี้ต้องหมายถึงพิธี เลียนแบบเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา คราวที่เสด็จไปและกลับจากเมืองเวสาลีใน ครั้งพุทธกาล ไม่ทราบกันว่าพระมหากษัตริย์ของลังกาพระองค์ใดบ้าง ได้ทราบดำเนินตามพระราชจริยาวัตรของ พระเจ้าอุปติสสะ แต่มีกล่าวถึงพระเจ้าเสนะที่ 2 (ซึ่งทรงครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ.1394- 1428) เมื่อเกาะลังกาเกิดโรคระบาดขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ก็ได้ทรงทำพิธีคล้ายกับพระเจ้าอุ ปติสสะที่ 1 แต่ในพิธีนั้น แทนที่จะใช้พระพุทธรูปอย่างในรัชกาลพระเจ้าอุปติสสะ พระเจ้าเสนะที่ 2 โปรดให้เชิญรูปพระอานนทเถระไปตามถนนในพระนคร แล้วนิมนต์พระภิกษุสงฆ์เดินตามสวด พระปริตต์และประพรม ปริตตาปาน (น้ำพระปริตต์)* ไปด้วยการที่พระเจ้าเสนะที่ 2 นำเอารูป พระอานนทเถระมาใช้ในพิธีนี้ นับว่าเข้ากับเรื่องราวการระงับภัย 3 ประการในเมืองเวสาลี ครั้ง พุทธกาลอยู่เหมือนกัน เพราะในครั้งนั้น พระอานนทเถระเป็นผู้อัญเชิญบาตรน้ำมนต์พระพุทธเจ้า เดินสวด รตนสูตร และประพรมน้ำจากบาตรไปตามถนนหนทางในเมืองเวสาลี ถือได้ว่าพระเจ้า เสนะที่ 2 ทรงดำเนินตามแบบอย่างของพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 แต่มีรายละเอียดแตกต่างออกไป ทั้ง กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเสนะที่ 2 ได้โปรดให้จารึกรตนสูตรลงไว้ในแผ่นทองคำด้วย ต่อมาพระเจ้ากัสสป ที่ 5 (ครองราชย์ในลังการะหว่าง พ.ศ. 1456-1466) ได้ทรงร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ 3 นิกาย สวดพระ ปริตต์ขจัดปัดเป่าทุพภิกขภัยและโรคระบาดในพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่จะได้ทรงดำเนินตามแบบ อย่างที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ เข้าใจว่าอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาล เวลา แต่มีกล่าวย้อนหลังไปถึงเมื่อครั้งรัชกาลของพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 (พ.ศ. 1201-1217) ว่าได้มี พิธีทางพระปริตต์เหมือนกัน แต่มิได้ * ดู รตนปริตต์ ใน ทวาทสปริตต์ หรือ สิบสองตำนาน * ไทยเราเรียกว่า "ปริตโตทก" แปลว่า "น้ำพระปริตรม น้ำพระพุทธมนต์" ดู- พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน
บอกถึงเหตุการณ์และให้รายละเอียด ต่อมาเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ได้มีพิธี คังคาโรหณะ ขึ้นที่เมืองมาตระในลังกาภาคใต้ ซึ่งท่านโทมัส มุหันทิรมะได้เขียนกลอนเป็นภาษาสิงหฬ ชื่อ คังคาโรหณะวัณณนา บรรยายไว้โดยพิสดาร*
ตามข้อความที่กล่าวมาข้างต้น ท่านคงจะสังเกตได้ว่าเมื่อท่านพุทธโฆสเดินทางมายังเกาะลังกานั้น เป็นรัชสมัยของพระเจ้ามหานามเป็นพระมหากษัตริย์ครองประเทศ ซึ่งเป็นรัชกาลต่อจากพระเจ้าอุ ปติสสะที่ 1 ในระยะที่ท่านพุทธโฆสมาอยู่ในลังกานั้น ข่าวคราวเกี่ยวกับที่พระเจ้าอุปติสสะ โปรดให้ทำพิธี คังคาโรหณะ อาจยังเล่าลือกันอยู่หรืออาจมีพระภิกษุสงฆ์และประชาชนชาวลังกา พูดถึงและเล่าให้ท่านฟังด้วยซ้ำ แต่พระสูตรที่ใช้สวดในพิธีคังคาโรหณะก็ระบุถึงไว้แต่ประ ปริตต์เดียว คือ รนตสูตร ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ที่ท่านพุทธโฆสแต่ ท่านได้ระบุไว้ถึง 5 พระปริตต์ อาจระบุตามที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์มิลินทปัญหาก็ได้ เพราะปรากฎตามคัมภีร์มิลินทปัญหาระบุชื่อไว้ เพียง 5 หรือ 6 ปริตต์ ไม่ปรากฎระบุไว้หรือมีเกินกว่านั้น บางท่านจึงคาดคะเนว่าคงจะมีผู้นำเอา มงคลสูตร** และกรณียเมตตสูตร มาใช้สวดพระปริตต์ด้วย อย่างไรก็ดี พิธีสวดพระปริตต์ตามเรื่อง ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ข้างต้นแสดงว่า ทำกันในบางรัชกาลของพระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศลังกา เช่นในรัชกาลพระเจ้ากัสสปที่ 5 และย้อนหลังกลับไปถึงรัชกาลพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 ก็มีพิธีสวดพระ ปริตต์ จึงอาจเป็นว่าพระเถระในชมพูทวีปและตลอดมาจนพระเถระชาวลังกาอาจเลือกคัดพระสูตร พระคาถา และพุทธวจนต่าง ๆ มารวมขึ้นไว้ โดยมุ่งหมายใช้สำหรับบริกรรมหรือพร่ำบ่นภาวนา อย่างเดียวกับมนต์ต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองป้องกันรักษาตัว เช่นที่ทรงประทานพระพุทธานุญาตไว้ใน วินัยปิฎกดังกล่าวมาข้างต้น จึงเรียกว่า "ปริตตะ" ซึ่งมีความหมายว่าความคุ้มครองป้องกัน
การเลือกคัดพระพุทธวจนะในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกมารวมเข้าเป้นคัมภีร์พระปริตต์สำหรับสวด หรือพร่ำบ่นภาวนานั้น คงจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบย่อและแบบพิสดาร แบบย่อเรียกว่า "ปริตต์" และ แบบพิสดารเรียกว่า "มหาปริตต์"* หรือเรียกตามจำนวนของพระปริตต์ว่า "สัตตปริตต์ (เจ็ดตำนาน)" แบบหนึ่งและ ทวาทสปริตต์ (สิบสองตำนาน)" แบบหนึ่ง ต่อมาในกาลใดกาลหนึ่งพระมาห กษัตริย์ในทวีปลังกา เช่นที่มีพระนามระบุถึงมาข้างต้น ได้โปรดให้ใช้พระปริตต์นั้นเป็นแบบฉบับ สำหรับสวดในพระราชพิธี จึงเรียกแบบสัตตปริตต์ว่า "จุลราชปริตต์" และเรียกแบบทวาทสปริตต์ว่า " มหาราชปริตต์" คัมภีร์พระปริตต์ดังกล่าวนี้ ชาวลังกาเขาเรียกและรู้จักกันในภาษาสิงหลว่า "ปิริต- โปตะ" และอาจเป็นว่าในสมัยต่อมาพระเถระชาวลังกาคงจะได้เลือกคัดพระสูตรและพระพุทธวจนะ อื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก สำหรับสวดเป็นครั้งเป็นคราว ครั้นเลือกคัดมารวมไว้มากเข้าก็จำต้องแบ่ง ธรรมประเภทออกส่วนกำหนดเป็นตอน ๆ เรียกว่า "ภาณวาร" มี 4 ภาณวาร เรียกรวมว่า "จตุภาณ วาร" จตุภาณวารในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงของเรามีธรรมประเภท 22 ภาค แต่ของลังกาดู เหมือนจะมีจำนวนมากกว่า ซึ่งลังกาอาจเพิ่มเติมขึ้นอีกในภายหลังก็ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ * History of Buddhism in Ceylon by Walpola Rahula, pp.276-278 * The Pali Literature of Ceylon by G.P. Malalasekera, pp.75-6.* An Introduction to Pali Literature by Dr.S.C. Banerji, p.94จึงไม่อาจทราบกันว่าใครเป็นผู้ราบรวมคัมภีร์จตุภาณวาร ? และรวบรวมขึ้นแต่เมื่อใด ? เพราะคง จะรวบรวมขึ้นหลายครั้งหลายคราวตามแต่เหตุการณ์โดยพระเถระต่างสมัย เมื่อมีคัมภีร์จตุภาณ วารขึ้นแล้ว การสวดราชปริตต์ในลังกาทวีปก็เลิกไป แม้ฉบับก็สูญจนพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงหาได้ฉบับจากเมืองยะไข่ไปประทานจึงกลับมีขึ้น การสวดมนต์ของพระลังกาสวดพระสูตรและ คาถาต่าง ๆ ตามสะดวก แต่การสวดภาณวารในลังกายังนับถือกันมาก* ดูเหมือนชาวลังกาจะรู้จัก และเรียกคัมภีร์จตุภาณวารรวม ๆ กันไปว่า "ปิริต-โปตะ" ด้วย
คัมภีร์จตุภาณวารนี้ต่อมาท่านอานันทวันรัตนเถระชาวลังกาได้สั่งให้ศิษย์ (มิได้ระบุชื่อไว้) ของท่าน เขียนอรรถกถาหรือ จตุภาณวารฏฺฐกถา ขึ้น เรียกชื่อว่า สารัตถสมุจจัย แต่ในปณามคาถาของสา รัตถสมุจจัยกล่าวระบุไว้ว่า ท่านผู้แต่งคัมภีร์สารัตถสมุจจัย คือ พระเถระมีนามว่า อโนมทัสสี** ผู้ เป็นสังฆราช สถิต ณ นครโปโลนนรุวะ ซึ่งเป็นราชธานีของประเทศลังกาในสมัยหนึ่ง และว่าแต่งขึ้น ในรัชกาลประเจ้าปรักกมพาหุ** ซึ่งยกย่องเป็นมหาราชาองค์หนึ่งของลังกา ทรงครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1696-1729 สันนิษฐานว่าไทยคงจะได้ฉบับคัมภีร์สารัตถสมุจจัยเข้ามาในประเทศ ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แปลเป็นภาษาไทยขึ้นครบบริบูรณ์ในรัชกาลที่ 3 กรุงรัตน โกสินทร์และหอพระสมุดวชริญาณ ได้จัดทะยอยให้ท่านผู้มีศรัทธาพิมพ์ออกเป็นเล่มครั้งละพระ ปริตต์จนครบบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2460 ส่วนคัมภีร์พระปริตต์หรือเจ็ดตำนานและสิบสองตำนานนั้น ไทยเราคงจะได้รับมาพร้อมกับรับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะเมื่อรับพระพุทธศาสนาแบบหินยาน และลัทธิลังกาวงศ์
ความมุ่งหมายของพระปริตต์
เมื่อประโบราณาจารย์ได้เลือกคัดจัดสรรพระสูตร พระคาถา และพระพุทธวจนะ โดยมากจากคัมภีร์ ขุททกนิกายในพระสุตตันตปิฎกมารวมขึ้นแล้วเรียกรวมเป็นคัมภีร์ปริตต์ เช่นที่ลังกาเรียกว่า "ปิริต-โป ตะ" นั้น เห็นได้ว่าเพี้ยนคำจาก "ปริตตโปฏกะ" ไปตามสำเนียงพื้นเมือง คำว่า "ปริตฺต" ก็มาจาก " ปริ" อุปสรรคกับ "ตา" หรือ "ตฺรา" ธาตุ แปลว่า คุ้มครอง, ป้องกัน, รักษา ผสมกันเป็นรูปศัพท์บาลีว่า "ปริตฺต" หรือ "ปริตฺตา" แปลว่า การคุ้มครองรักษา หรือความคุ้มครองรักษาหรือความคุ้มครองป้อง กัน หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน ก็ได้ เป็นคนละความกับ ปริตตะ อีกคำหนึ่ง ซึ่งแปลว่านิดหน่อย เล็กน้อย นอกจากคำว่า "รักขา" ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีคำที่ใช้คู่กันกับ "ปริตต์ อีกคำหนึ่งคือ " ตาณ" แปลว่าการป้องกัน, การต้านทาน แล้วโบราณแผลงเป็นคำศัพท์ว่า "ตำนาน" หรือ "ดำนาณ" และให้คำแปลว่าเครื่องห้าม เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง ที่อาศัย* แต่เรามาใช้เขียนกัน เพี้ยนไปเป็น เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน (คือเปลี่ยน ณ เป็น น) * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในตำนานพระปริตร และพระนิพนธ์คำ นำในสารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวารแปล * สารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวาร แก้บทคำนมัสการแลสรณคมน์ * พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เลยมีความหมายแปลไปว่าเรื่องราวเก่าแก่ ไม่ตรงกับความหมายเดิม เพราะฉะนั้นในที่นี้ถ้าหมาย ถึงเรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลังหรือเรื่องราวนมนานที่ต่อปากกันมา หรือเรื่องราวเก่าแก่ ข้าพเจ้าขอใช้คำว่า "ตำนาน" แต่ถ้าหมายถึง การต้านทาน, คุ้มครอง, ป้องกัน, รักษา ซึ่งเป็นความ เดียวกับคำว่า "ปริตต์" ข้าพเจ้าขอใช้คำ "ตำนาณ" ที่แผลงมาจาก "ตาณ" ซึ่งในบางแห่งท่านก็เอา " ปริ" ผสมกับ "ตาณ" เป็นรูปคำว่า "ปริตฺตาณ" ก็มี แต่คำบาลีก็มักใช้เพี้ยน ณ เป็น น ได้เหมือนกัน เช่น ปริตฺตาณํ เป็น ปริตฺตานํ** จึงขอเรียกคัมภีร์พระปริตต์ ตามที่รู้จักกันดีในภาษาไทยว่า "เจ็ดตำ นาณ" และ "สิบสองตำนาณ"
แต่เมื่อนำเอาพระสูตรหรือพระคาถาใดมาทำ ปริตต์ แล้ว ซึ่งเดิมไม่มีคำ ปริตต์ ต่อท้าย หรือต่อท้าย ด้วยคำอื่น ท่านก็เปลี่ยนเรียกเป็นปริตต์ ไปตามความมุ่งหมายด้วย ดังจะเห็นได้จากชื่อที่เรียกไว้ ในคัมภีร์มิลินทปัญหา และในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เช่น - รตนสูตร เป็น รตนปริตต์ ธชัคคสูตร เป็น ธชัคคปริตต์ อาฎานาฏิยสูตร เป็น อาฎานาฏิยปริตต์ ส่วนที่เรียกว่า ปริตต์ อยู่ก่อนแล้ว ก็เรียกไปตามเดิม เช่น ขันธปริตต์ โมรปริตต์ และเมื่อรวบรวมเข้า เป็นคัมภีร์ประปริตต์นั้น พระโบราณาจารย์ท่านได้ประพันธ์บทและคาถาภาษาบาลีเล่าประวัติย่อ และบอกสรรพคุณหรืออานิสงส์โดยสังเขป เรียนกันว่า "บทขัดตำนาณ" หรือ "บทขัดตำนาน" ไว้ใน เบื้องต้นของพระปริตต์บทนั้น ๆ ด้วย เช่น ในสิบสองตำนาณ (เว้นฉัททันตปริตต์ ที่ไม่มีบทขัด) แล้ว ท่านเรียกของท่านว่า "ปริตต์" คือที่ท่านกล่าวเกริ่นว่า "ปริตฺตนฺตมฺภณาม-เห เราทั้งหลายจงสวดพระ ปริตต์นั้นกันเถิด" เกือบทุกบท ที่มิได้บอกไว้ในบทขัดมีอยู่เพียง 2 บท คือ มงคลสูตร และโพช ฌังคปริตต์ แต่บทหลังนี้ก็เรียกว่า โพชฌังค์ ปริตต์ อยู่แล้ว
พึงสังเกตตามพระบาลีที่ปรากฎในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง ท่านแทรกพระปริตต์และบทสวดอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไว้ข้างหน้าและข้างท้ายเจ็ดตำนาณและสิบสองตำนาณ เพราะฉะนั้น ในตอนที่เป็น เจ็ดตำนานจึงเห็นได้ว่าเกินกว่าจำนวน 7 แต่ในสิบสองตำนานท่านจัดไว้ลงจำนวนและบอกไว้ชัด เริ่มตั้งแต่มงคลสูตรเป็นที่ 1 (ปฐมํ มงฺคลสุตฺตํ) เรียงลำดับไปถึงชยปริตต์ เป็นอันดับที่ 12 (ทฺวาทสมํ ชยปริตฺตํ) แม้กระนั้น ท่านยังควบฉัททันตปริตต์เข้าไว้กับขั้นธปริตต์ โดยบอกไว้ว่า "ขนธปริตฺตํ ฉทฺท นฺตปริตฺตาปรํ" คือบอกว่าขันธปริตต์ ซึ่งมีฉัททันตปริตต์ต่อท้ายหมายถึงว่า ท่านนับฉัททันตปริตต์ ควบเป็นอันดับที่ 4 เลขหมายเดียวกับขันธปริตต์ ทำนองเดียวกับในเจ็ดตำนาน ท่านนับองคุลิ มาลปริตต์ควบกับโพชฌังคปริตต์ โดยบอกไว้ว่า "องฺคุลิมาลปริตฺตปุพฺพกํ โพชฌงฺคปริตฺตํ" คือบอกว่าโพชฌังคปริตต์ ซึ่งขึ้นต้นด้วยอังคุลิมาลปริตต์ * ชาตกฎฐกถา ตติยภาค น.196
ป้ายกำกับ
- คำนำ (1)
- ธรรมมะ (5)
- เรื่องน่ารู้ (9)
- สุขภาพ (18)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น